top of page
-
00:0000:00
พระอ.ดร.สิงห์ทน นราสโภ

      พระอริยเจ้า  พระอริยสงฆ์  พระคณาจารย์                และผู้ทรงคุณวิเศษ  ท่านใดบ้าง ?  

 

        ที่พระอ.ดร.สิงห์ทน  นราสโภ  อาราธนาบารมีมาช่วยเสริมพลัง   ในการสวดมนต์  และอธิษฐานจิต  เพื่อทำการบรรจุพลังลงในองค์พระสมเด็จเพชรดำ  (สถานปฏิบัติธรรมพระนเรศ ดอยเชียงดาว ฯ)  ซึ่งต่างก็เป็นที่กล่าวขวัญ ให้การยอมรับจากคณาจารย์  และท่านผู้มีพลังจิต ต่างๆ หลายแขนง  ในความเป็นสุดยอดของพลังที่ถูกบรรจุอยู่ใน องค์พระสมเด็จเพชรดำ  โดยการสวดมนต์ บรรจุพลังของ พระอ.ดร.สิงห์ทน  นราสโภ ว่า พลังที่ถูกบรรจุ ใน  พระสมเด็จ เพชรดำ ดังกล่าวว่า  มีพลังเต็มเปี่ยม  ไม่ด้อยไปกว่า พระสมเด็จ ที่มีส่วนผสม ของเพชรดำ ที่ สมเด็จพุฒาจารย์ (โต)  พรหมรังสี  ได้อธิษฐานจิต ปลุกเสก ขึ้นในปี  พ.ศ. 2401  ซึ่งสร้างขึ้นใน ช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 ถึง รัชกาลที่ 5

      องค์ประกอบของมวลสารหลักที่ใช้นั้นก็คือ เพชรดำแท้ๆ  ได้นำมาจาก"บ่อน้ำเพชรดำ  ของสถานปฏิบัติธรรมพระนเรศดอยเชียงดาว ฯ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บไต์ เรื่อง "บ่อน้ำเพชรดำ และ

เจดีย์เพชรดำ ")  

       ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559 บนสถานปฏิบัติธรรมพระนเรศ ดอยเชียงดาว ฯ  ก็ได้ขุดพบตาน้ำ และเเหล่งเพชรดำ  รวมไปถึง พบแร่กายสิทธิ์ต่างๆ อันหาค่ามิได้ เป็นอัญมณีทุกรูป แบบ ทั้งเหล็กไหล เหล็กเปียก เพชรหน้าทั่ง  และสรรพวัตถุมงคลมากมาย ฯลฯ  ซึ่งในปัจจุบันคือ บ่อน้ำดื่ม น้ำใช้หลัก...

รวมรวม  เรียบเรียง  คัดบทความโดย : Sarot2555 / Nun Dao

พระอริยเจ้า  พระอริยสงฆ์  พระคณาจารย์  และผู้ทรงคุณวิเศษ  มีดังนี้คือ

1. คณะพระธรรมทูต ซึ่งมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ในปีพุทธศักราช ๒๓๕  

หรือคณะของพระโสณเถรเจ้า และพระอุตตรเถรเจ้า (คณะพระธรรมทูตของ บรมครูหลวงปู่เทพโลกอุดร)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

               คณะพระธรรมทูต มาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ในปีพุทธศักราช ๒๓๕

       กล่าวย้อนไปถึงอดีตกาล พุทธศักราชผ่านพ้นไป ๓๐๓ ปี (ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงศ์พงศาวดาร ลังกา  คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร) และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (บันทึกอักษรเทวนาครี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลา วัดคูบัว ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี) ว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิในปีพุทธศักราช ๒๓๕ ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันถึง ๖๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ การชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ครั้นแล้วจึงอาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันต์เถระออกทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระโมคัลลีบุตรติสสเถระ ได้มีความเห็นร่วมกันว่า ในอนาคตพุทธศาสนาอาจไม่มั่นคงอยู่ ในอินเดีย  จึงเห็นควรส่งพระสมณทูตออกไปเผยแผ่ในส่วนต่าง ๆ ของอินเดียและในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการส่งพระสมณทูตออกประกาศพุทธศาสนา โดยแบ่งออกเป็น ๙ สาย ภายใต้พระราชูปถัมภ์ของ พระเจ้าอโศกมหาราช พระสมณทูต ๙ สาย คือ
สายที่ ๑ มีพระมัชฌันติกเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย คือ แคว้นกัษมีระ (แคชเมียร์) และแคว้านคันธาระ
สายที่ ๒ มีพระมหาเทวเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศใต้ของประเทศอินเดีย คือ แคว้นมหิสมณฑล (ปัจจุบัน คือ รัฐไมซอร์)
สายที่ ๓ มีพระรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งได้แก่ แคว้นวนวาสีประเทศ
สายที่ ๔ มีพระธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาแถบชายฝั่งตะวันตกของอินเดีย อันได้แก่ แคว้นอปรันตกชนบท (ปัจจุบัน คือ แถบบริเวณเหนือเมืองบอมเบย์)
สายที่ ๕ มีพระมหาธรรมรักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองบอมเบย์ อันได้แก่ แคว้นมหาราษฎร์
สายที่ ๖ มีพระมหารักขิตเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่โยนกประเทศ (กรีซ)
สายที่ ๗ มีพระมัชฌิมเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาทางดินเดียภาคเหนือ (แถมเทือกเขาหิมาลัยและประเทศเนปาล)
สายที่ ๘ มีพระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบสุวรรณภูมิ (ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณภูมิ ไม่อาจตกลงกันได้ว่าที่ใด แต่มีความเป็นกว้าง ๆ ว่า คือดินแดนที่เป็นประเทศพม่า (เมียนมาร์) ไทย ลาว ญวน เขมร และมลายู)
สายที่ ๙ มีพระมหินทเถระ เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป (ปัจจุบัน คือ ศรีลังกา)


          สำหรับดินแดนในเขตสุวรรณภูมิ พระโสณเถระ  เป็นสมณทูตที่เข้ามาประกาศพระศาสนาได้แสดงธรรม ในพรหมชาลสูตรเป็นปฐมเทศนา และได้นำพระบรมสารีริกธาตุเข้ามาพร้อมกับพระอรหันต์อีก ๔ องค์ ได้แก่ พระอุตตรเถระ พระฌานียเถระ พระภูริยเถระ และพระมุนียเถระ มีสามเณร อุบาสกอุบาสิการ่วมคณะ จำนวน ๓๘ คน ได้รับการต้อนรับจากพระเจ้าสุวรรณภูมิราชาหรือพระเจ้าโลกละว้า ที่เมืองคูบัว ราชบุรี เมื่อเดือนกัตติกมาส หรือเดือน ๑๒ พุทธศก ๒๓๕ (ก่อน ค.ศ. ๓๐๘)
         

          การเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ดำเ นินจนมาถึง พ.ศ. ๒๖๔ (ก่อน ค.ศ. ๒๗๙) พระโสณเถระจึงได้สร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรก ณ เมืองเถือมทอง อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี ให้พระภูริยเถระเป็นผู้ทำนิมิตพัทธสีมา ในปีพ.ศ. ๒๖๕ (ก่อน ค.ศ. ๒๗๘) และได้สร้างพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นทรงบาตรคว่ำเหมือนพระสถูปที่เมืองสาญจีในประเทศอินเดีย มีชื่อว่า "วัดพุทธบรมธาตุ" จนพระพุทธศาสนาได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติของไทยในปัจจุบัน
 

          คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะพระโสณะเถรเจ้า และพระอุตตรเถรเจ้า)
                    ๑. หลวงปู่พระอุตตรเถรเจ้า
                    ๒. หลวงปู่พระโสณเถรเจ้า
                    ๓. หลวงปู่พระมูนียเถรเจ้า
                    ๔. หลวงปู่พระฌาณียเถรเจ้า
                    ๕. หลวงปู่พระภูริยเถรเจ้า
         

          ในคำจารึกอักขรเทวนาครี ฉบับวัดเพชรพลี ปรากฏข้อความที่พิศดารยิ่งขึ้น โดยกล่าวถึงคณะพระธรรมฑูตได้เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยทางเรือประกอบด้วย พระโสณะ พระอุตตระ พระมูนิยะ พระฌานียะ พระภูริยะ สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ พระสามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสิกา อดุลยอำมาตย์และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก ๓๘ คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม (นครศรีธรรมราช) เมื่อ

          วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๕ ออกบิณฑบาต วันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตรและได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจตุตถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีไทยโดยถือแบบเหล่าพระสากิยานี ซึ่งเป็นต้นของพระภิกษุณีโดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ออกจากเรือน (อาคารสมา อนาคาริยปพพชชา) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม
         

          เมื่อพระเจ้าโลกละว้าราชา (เจ้าผู้ครองแคว้นสุวรรณภูมิ) รับสั่งให้ มนต์ขอมพิสนุ ขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธ์สีมา พ.ศ. 238 เดือน 5 ขึ้น 15 ค่ำขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระปาฏิโมกข์จบหลายองค์ แล้วจึงวางวิธีสวดสาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชณายกันจริงๆ ท่านให้มนต์ขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบสวดมนต์ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา ท่านได้วางวิธีกฐินและธุดงค์ไปในเมืองต่างๆ คือ การเที่ยวจาริก
 

          การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ มีพระพุทธรูปเป็นองค์สมมุติ พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมุติสงฆ์ ส่วนพระธรรมนั้นเป็นเพียงเสียงสวด ท่านจึงใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นธรรมจักรแทนพระธรรม กับมี มิค (มิ–คะ) คือสัตว์ประเภท กวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมาย ในสมัยสุวรรณภูมิ
 

          พระพุทธรูปที่มีกวางกับธรรมจักรกลับไม่มี การสร้างหรือออกแบบในสมัยนั้น มีอยู่สี่ลักษณะด้วยกันคือ (ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน) มีอักษรเทวนาครีจารึกระบุพระนามว่า โลกกน แบบประภามณฑลมี ๓ วงซึ่งเป็นเครื่องหมายพระนามว่า “โลก” คือ วัฏฏ ๓ แบบโปรดสหาย พระยศ ส่วนปางมารวิชัยและปางสมาธิมีทุกสมัย
 

          ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณะกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุไทย ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า ๓ รูป อุบาสก อุบาสิกา ไปเรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตรแคว้นมคธ นับเป็นเวลา ๕ ปี พระญาณจรณะ (ทองดี) ท่านนี้ปรากฏหลักฐานเพียงรูปของพระพิมพ์ มีลักษณะอวบอ้วนคล้ายพระมหากัจจายนเถระเจ้า ด้านหลังมีรูปพระ ๙ องค์เป็นอนุจร หรือบวชทีหลัง คนชั้นหลังเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นองค์เดียวกับพระมหากัจจายนเถระเจ้า และเรียกเพี้ยนเป็นพระสังขจาย เรียกกันมานานนับพันๆ ปี ศัพท์สังขจายไม่มีคำนิยามในพจนานุกรม พุทธสาวกทุกพระองค์จะมีนามเป็นภาษาบาลีทั้งสิ้น ไม่มีนามเป็นภาษาไทย พระญานจรณะ (ทองดี) บรรลุอรหันต์และจบกิจนานนับพันปีแล้ว ปัญหาเช่นดังกล่าวนี้หากนำพระปิดตาขึ้นมาพิจารณาก็ยากที่จะตัดสินว่าเป็นพุทธสาวกองค์ใดกันแน่ อาจจะเป็นพระมหากัจจายนเถระเจ้า ปางเนรมิตวรกายก็ได้ อาจจะเป็นพระควัมปติเถระ ก็ได้ เป็นพุทธสาวกทรงเอตทัคคะด้วยกัน แต่เป็นคนละองค์ คำว่า พระควัมบดี ไม่มี)
 

          ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าราชาสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้าราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า ถึงปี พ.ศ. ๒๖๔ พระโสณเถระใกล้นิพพาน พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิ วางรากฐานธรรมวินัยในพระบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา ๒๙ ปี และท่านนิพพานในปีนั้น หลักฐานต่างๆ ตามที่กล่าวจารึกด้วยอักษรเทวนาครี ขุดพบที่โคกประดับอิฐ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี พบรูปปั้นลอย องค์ลักษณะนั่ง ลักษณะนั่งห้อยเท้า มีลีลาแบบปฐมเทศนา มีเศียรโล้น ด้านหนึ่งจารึกว่า โสณเถระ ด้านล่าง อุตตรเถระ ด้านล่างสุด สุวรรณภูมิ มีอยู่ด้วยกัน ๕ องค์ ผู้ค้นพบทุบเล่น ๓ องค์ เหลือเพียง ๒ องค์ ตกเป็นสมบัติของวัดเพชรพลี ส่วนครบชุด ๕ องค์ คือ พระโสณเถระ พระอุตตรเถระ พระมูนียเถระ พระฌานียเถระ และพระภูริยเถระ ในท่านั่งแสดงธรรม สมัยต่อมาในรัชกาลที่ ๔-๕ มีการสร้างแบบพระสมเด็จขึ้น แล้วเห็นเป็นพระสมเด็จผิดพิมพ์อีกด้วย จึงเป็นการสับสนสำหรับผู้ที่ไม่รู้จริง
 

          จะเห็นได้ว่าตามหลักฐานบันทึก กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตตรเถระ (อุตร ก็คือ อุดร) เป็นปัญหาว่า หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระโสณะเถระ ข้อเท็จจริง ท่านทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต องค์พี่คือพระอุตตระ มีร่างกายสันทัด องค์น้องคือพระโสณะ มีร่างกายสูงใหญ่ มีฉายาว่าขรัวตีนโต ถ้านำพระธาตุมาตรวจนิมิตจะบอกว่า โสณ-อุตตร ไม่แยกจากกัน องค์น้องบรรลุอรหันต์ก่อนองค์พี่ แต่มีความเคารพองค์พี่มากต้องกราบองค์พี่ แต่เหตุที่บรรลุก่อนพี่ชายจึงเรียกว่า โสณ-อุตตร ไม่เรียกว่า อุตตร-โสณ ฉะนั้น หลวงปู่ใหญ่ก็คือ พระอุตตระ นั่นเอง ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี กล่าวพระนามขององค์ท่านว่า พระโสอุดรพระโลกอุดร


บุคลิกภาพ  และจริตแห่งพระเทพโลกอุดร
         

          องค์ที่หนึ่ง พระอุตตรเถระ หรือหลวงปู่ใหญ่ คือหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร ลักษณะรูปร่างสันทัด ผิวกายค่อนข้างดำคล้ำ จึงมีฉายาว่า “หลวงพ่อดำ” มีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์เจ้า บรรลุอภิญญาหก แต่ในบทสวดกล่าวว่าเตวิชโชคือวิชชาสาม ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับปฏิสัมภิทาญาณ แต่ในบทสวดก็กล่าวว่าท่านบรรลุซึ่งปฏิสัมภิทาญานเช่นกัน ท่านได้วางหลักสูตรในการฝึกสมาธิซึ่งเรียกว่า “วิทยาศาสตร์ทางใจ” มิใช่วิชาไสยศาสตร ์และมิใช่มายากล ศิษย์ในดงนอกดงสามารถแปรธาตุได้ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, ท่านอภิชิโต ภิกขุ, อาจารย์พัว แก้วพลอย, อาจารย์ฉลอง เมืองแก้ว และหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นต้น

         

          ท่านเชี่ยวชาญในวิชาแพทย์และเภสัชกรรม ใจดีประกอบด้วยเมตตา มีอารมณ์ขัน หากจะกล่าวถึงหัวหน้าคณะพระธรรมฑูตซึ่งเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิแหลมทอง คงได้แก่ พระโสณเถระ ซึ่งท่านเป็นน้องชายพระอุตตรเถระ แต่บรรลุอรหันต์ก่อนพี่ชาย บทบาทของพระอุตตรเถระจึงไม่ค่อยมีปรากฏ และพระโสณเถระก็บรรลุปฏิสัมภิทาญาณเช่นกัน มิฉะนั้นจะสอนพระศาสนาแก่คนต่างชาติได้อย่างไร ปฏิสัมภิทาญาณสี่ มีดังนี้  


          ๑. อัตถปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในอรรถ เข้าใจถืออธิบายอรรถแห่งภาษิตให้พิศดาร และเข้าใจคาดคะเนล่วงหน้าถึงผลอันจักมีเข้าใจผล
          ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในธรรม เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้นๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้ สาวเหตุในหนหลังให้เข้าใจเหตุ
          ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในภาษาและรู้จักใช้ถ้อยคำ ตลอดจนรู้ถึงภาษาต่างประเทศ
          ๔. ปฏิภาณสัมภิทา คือ ความแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบ เข้าใจทำให้สบเหมาะในทันทีหรือในเมื่อเหตุเกิดขึ้นโดยฉุกเฉินหรือกล่าวตอบโต้ได้ทันท่วงที


          ท่านมีสภาวะจิตที่รวดเร็วมากเพียงนึกถึงท่าน ท่านจะบอกให้นิมิต “เมื่อเจ้าต้องการพบเรา เราก็มา เรามาจากทางไกล” ด้วยความรวดเร็วยิ่งในการตรวจพิมพ์ของท่าน ซึ่งผมก็ไม่ทราบว่าท่านเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร ท่านอภิชิโต ภิกขุ มอบให้เป็นสมบัติ บอกว่าอาจารย์ท่านคือหลวงปู่ดำเสกให้ เคยทดลองให้ท่านอาจารย์วิเชียร คำไสสว่าง ชีปะขาวผู้ทรงคุณกำหนดจิตดูท่านอาจารย์บอกว่าพระนี้ว่องไวและรวดเร็วยิ่ง
         

          องค์ที่สอง พระโสณเถระ หรือหลวงปู่ขรัวตีนโต รูปกายสูงใหญ่ ผิวดำ ทรงคุณสมบัติเช่นองค์ที่หนึ่ง เว้นแต่วิชาแพทย์ ใจดี เยือกเย็นประกอบด้วยเมตตาธรรม ชอบผาดโผน เหินฟ้านภาลัยโขดเขินเนินไศล เป็นที่สัญจร
         

          องค์ที่สาม พระมูนียะ หรือพระอิเกสาโร หลวงปู่โพรงโพธิ์ หลวงปู่เดินหน ล้วนเป็นองค์เดียวกัน มีบุคลิกภาพอันสง่างามปรากฏตามภาพซึ่งใช้บูชากันอยู่ในปัจจุบัน เชี่ยวชาญในวิชาแปรธาตุ เป็นผู้คงแก่เรียน ชอบเจริญอสุภกรรมฐาน 10 มักสร้างรูปบูชาเป็นโครงกระดูก พูดน้อยค่อนข้างเคร่งขรึมคล้ายดุ แต่ก็ไม่ดุ เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ห่มจีวรสีหมองคล้ำ หากปรากฏภาพในนิมิตมักจะปรากฏเส้นเกสายาวจรดเอวทีเดียวแสดงว่า “อิเกสาโร” (เกสา แปลว่า เส้นผม) ท่านมีบทบาทไม่น้อย ตามความรู้สึกน่าจะมีบทบาทมากกว่าองค์อื่นๆ ด้วยซ้ำไป
         

          องค์ที่สี่ พระณานียะ หรือหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง จังหวัดนครปฐม ท่านมีรูปกายค่อนข้างสูงใหญ่ ขนตาดกยาวแปลกกว่าองค์อื่น มีอำนาจ แต่ขี้เล่นใจดี นิมิตไม่แน่นอนอาจเป็นรูปพระภิกษุ ท่านจะชื่ออะไรไม่ทราบแต่แปรธาตุเสกใบมะม่วงเป็นกบนำมาพร่า ยำ เลี้ยงสานุศิษย์ เลยเรียกกันว่าหลวงพ่อกบ ท่านมาสร้างบารมีต่อ ปริศนาธรรมคือขรัวขี้เถ้าเผาแหลกมีอะไรเผาหมด แบบเถ้าสู่เถ้า ผงคลีสู่ผงคลี ดินจะใหญ่สักปานใดมันก็ไม่พ้นจากความเป็นขี้เถ้าหรอก ในที่สุดท่านก็มรณภาพและสานุศิษย์นำใส่โลงศพรอวันเผา หลวงปู่เกิดหายไปไร้ร่องรอย เลยไม่มีการฌาปนกิจศพ
           

          องค์ที่ห้า พระภูริยะ หรือหลวงปู่หน้าปาน บางคนก็เรียกท่านว่า หลวงปู่แก้มแดง เคยเรียนถามท่านอภิชิโต ภิกษุ ท่านบอกว่าขรัวหน้าปานองค์นี้สำเร็จปรอท ล่องหนย่นระยะทางเก่ง ถ้าท่านเอาลูกปรอทมาอมทางแก้มซ้าย ทางด้านซ้ายจะแดง ถ้าเปลี่ยนเป็นอมทางแก้มขวา ทางด้านขวาจะแดง จึงเกิดถกเถียงกันไม่รู้จบ ท่านเป็นสหธรรมิกกับหลวงปู่ขรัวขี้เถ้า มาสร้างเสริมบารมีในระยะเวลาเดียวกัน โดยอาศัยร่างท่านพระมหาชวนหรือหลวงพ่อโอภาสี แห่งอาศรมบางมด ท่านเป็นพระภิกษุทรงศีล เมื่อมีผู้ซักถาม ท่านก็บอกตามตรงว่าพระมหาชวนได้ตายไปแล้ว อาตมาเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างสร้างบารมีต่อ
         

          ปริเฉทสาม
 

          เริ่มสมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 4 ประมาณเมื่อปี พ.ศ. 2395 ในขณะที่พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ หรือพระองค์เจ้ายอดยิ่งประยุรยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร (ประสูติ ณ วันพฤหัสบดี เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอสัมฤทธิศก จุลศักราช 1200 พุทธศักราช 2381 ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ นับเป็นพระราชโอรสองค์ต้นในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเอม) ทรงพระชนมายุได้ 14 พรรษา เป็นการปรากฏทั้งคณะพระธรรมฑูต มีดังนี้
          1. พระอุตตรเถระ เรียกกันว่า พระครูโลกอุดร หรือหลวงปู่ใหญ่ หรือหลวงพ่อดำ ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เรียกท่านว่า “พระโลกอุดร”
          2. พระโสณเถระ เรียกกันว่า พระครูโลกอุดร เช่นกัน ฉายานาม หลวงปู่ขรัวตีนโต ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เรียกท่านว่า “พระโสอุดร”
          3. พระมูนียะ เรียกกันว่า หลวงปู่โพรงโพธิ์ หรือท่านอิเกสาโร หรือหลวงปู่เดินหน
          4. พระฌานียะ เรียกกันว่า หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า
          5. พระภูริยะ เรียกกันว่า หลวงปู่หน้าปาน

 

          ทราบโดยญาณของผมเองว่า พระอิเกสาโรเป็นศิษย์พระโสณเถระ ส่วนอีกสองท่านจะเป็นศิษย์พระอุตตรเถระหรือพระโสณเถระยังไม่แจ้งชัด เพียงอาจารย์ผมบอกว่าท่านพระฌานียะ ยังมีอายุแก่กว่าพระอุตตรเถระด้วยซ้ำไป หลวงปู่ขรัวขี้เถ้ากับหลวงปู่หน้าปานจะจบกิจเป็นพระอรหันต์หรือยัง มิอาจทราบได้ เพียงท่านหายไปตอนแรกอาจเป็นเพียงอรหัน (ตามคำวิเคราะห์ศัพท์ในตอนต้น) จึงต้องมาสร้างบารมีเพิ่มในรูปของ  หลวงหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ก็คือท่านขรัวขี้เถ้าเผาแหลก มีอะไรท่านเผาหมด เป็นปริศนาธรรมอันหนึ่งว่า
“ตูนี่แหละคือขรัวขี้เถ้า” ท่านแปรธาตุแบบสำนักโลกอุดร เป็นกบเลี้ยงลูกศิษย์ จึงมีฉายาว่า หลวงพ่อกบ กล่าวกันว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วนำใส่โลงศพ ได้เกิดหายไปไม่มีร่องรอย ก็จะเห็นท่านตามจริงเสียเมื่อไร ที่เห็นนั่นเป็นเพียงกายธรรมเท่านั้น

 

          ส่วนอีกท่านหนึ่งมาในนามของหลวงพ่อโอภาสี หรือพระมหาชวน แห่งอาศรมบางมด ท่านก็บอกว่าพระมหาชวนตายไปแล้ว ท่านเป็นพระสำเร็จมาอาศัยร่างเพื่อสร้างบารมีต่อ ปริศนาธรรมของท่านก็คือ มีพระบรมสาทิศลักษณ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 คนก็ตีความไปต่างๆ นาๆ ว่า รัชกาลที่ 5 มาเกิดบ้าง ก็เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2453 ท่านพระมหาชวนเกิดก่อน แล้วความจริงก็คือ “ตูนี่แหละพระเทพโลกอุดร องค์ที่ 5” ก็เท่านั้น
 

          พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ น่าจะสร้างบารมีต่อเนื่องมาแต่ปางบรรพ์ ทรงมีธรรมาพิสมัยแต่ครั้งยังเยาว์วัย นอกจากจะทรงสนพระทัยในวิทยาการทางอักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ การฝีมือ ยุทธศาสตร์ วิชาการฟ้อนรำ ตลอดจนถึง ทรงสนพระทัยในวิปัสสนากรรมฐานแต่เยาว์วัย ขณะที่พระชนมายุเพียง 14 พรรษา ฝึกฝนจนอินทรียพละแก่กล้าพอควร หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (พระอุตตรเถระ) เห็นว่าเจ้าชายท่านนี้เคยเป็นศิษย์ในความอุปการะกันมา จึงมาเข้านิมิตสอนธรรมกรรมฐานโดยต่อเนื่องในสภาพกายทิพย์ (มองเห็นได้ด้วยตาใน) จนเห็นว่าบรรลุขั้นทิพยจักษุแล้ว จึงปรากฏเป็นกายธรรมมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ และสามารถใช้ผัสสะจับต้องได้ โดยที่ผู้ศึกษาไม่ถึงจะตู่ว่าเป็นองค์จริงแทบร้อยทั้งร้อย นั้นคือความไม่รู้จริงแล้วคิดว่ารู้ สำหรับเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาอุปราชแห่งพระราชวังหน้า ก็มิได้ทราบความจริงเท่าใดนัก เพียงแต่กล่าวกันว่าพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ มักจะหายไปคราวหนึ่งๆ ประมาณ 15-20 วัน คงมีแต่เจ้าจอมมารดาเอม ซึ่งเป็นพระชนนีที่ทราบความเป็นไป

2. สมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถรคันฉ่อง)

          

          ตามรอยสมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถรคันฉ่อง)                                   พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

     

      ขอขอบคุณ เนื้อหาบทความจาก : http://watpakeaw.blogspot.com/

      บันทึกโดย พระพีระ จิตตวีโร สำนักสงฆ์วัดป่าแก้ว บ้านป่าโหล– ผาใต้ ต.ท่าตอน อ. แม่อาย เชียงใหม่
      (ซึ่งได้รับอนุญาตการคัดลอกเพื่อการเผยแพร่จาก จากคุณ ปาเมล่า ว่องวานิช )

      คัดจากหนังสือ " ตามรอยสมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถรคันฉ่อง)                             พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  "

                     พระองค์สำคัญที่คนไทยลืมเลือนท่านไปจากความทรงจำ
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

      สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ปริยัติวราสังฆราชาธิปดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎธรจารย์สฤษดิ์                          ขัตติยสารสุนทร มหาคณฤศรอุตรวาม คณะสังฆรารามคามวาสี
 

เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ

ขออนุญาตคัดลอกบทบันทึกเกี่ยวกับที่มาของภาพสมเด็จพระพนรัต พระสังฆราชอรัญวาสี (มหาเถระคันฉ่อง) พระอาจารย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยพระพีระ จิตตวีโร สำนักสงฆ์วัดป่าแก้ว บ้านป่าโหล – ผาใต้ ต. ท่าตอน อ.แม่อาย เชียงใหม่ เพื่อคุณ ๆ จะได้รู้จักพระมหาเถระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประชาชนคนไทย                    

 

       นับแต่เวลาที่ได้กอบกู้เอกราชฟื้นฟูประเทศจากการตกเป็นเมืองขึ้น ซึ่งเราชาวไทยต่างทราบกันดีว่าเป็นพระปรีชาสามารถของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ได้กระทำการในครั้งนั้น จนกระทั้งเราเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้ แต่ยังมีอีกหลายท่านที่มิได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งดี อาจมองผ่านประวัติศาสตร์ในส่วนที่มีความสำคัญผูกพันระหว่าง ความเป็นความตายในพระชนม์ชีพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีพระเถระชาวรามัญรูปหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงให้ความเคารพบูชาอย่างสูงสุด ดังความคัดลอกเหตุการร์อันเกี่ยวเนื่องในบางตอนของประวัติศาสตร์ชาติไทยมาเผยแพร่ดังต่อไปนี้

 

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๖ พระเจ้ากรุงอังวะเป็นกบฏ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี่ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหมายเมืองให้เข้มแข็งเมืองด้วย คราวนั้นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปร เจ้าเมืองตองอู และเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วย ทางไทย เมื่อนั้นสมเด้จพระมหาธรรมราชาทรงโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๓ ปีมะแม พุทธศักราช ๒๑๒๖ แต่ยกทัพไปไม่ทันกำหนด ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงคลางแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าร่วมด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษาเมืองหงสาวดีไว้ ถ้าทัพไทยยกมาให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติ และพระยาราม เมื่อไปถึงเมืองแครงแล้ว ได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน

       เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก พุทธสักราช ๒๑๒๗ ทรงพักทัพอยู่ใกล้วัดของพระมหาเถรคันฉ่อง จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปเยี่ยมพระอาจารย์ซึ่งคุ้ยเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องจึงได้กราบทูลถึงเรื่องการคิดปองร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยาราม และเหล่าทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องพร้อมพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาประชุม

ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) แลประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า

         

      “ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครอบสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรมประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดี มิได้เป็นมิตรสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป ”

       

      เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ชกชวนพระมหาเถรคันฉ่อง พระยาเกียรติ พระยาราม พร้อมครอบครัวและบริวารมายังกรุงสรอยุธยาด้วย พระองค์ทรงขอพระราชทานความดีความชอบต่อพระมหาธรรมราชา พระมหาธรรมราชาทรงแต่งตั้งพระมหาเถรคันฉ่อง เป็นสมเด็จพระพนรัตในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ส่วนชาวมอญที่ติดตามมาทรงโปรดให้อยู่ ณ ตำบลบ้านหลังวัดนก (ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ทาทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดมหาธาตุ) ส่วนพระยาเกียรติ – พระยาราม มีตำแหน่งยศได้พระราชทานพานทอง ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้น และวัดขุนแสน ใกล้วังจันทร์ฯ ของสมเด็จพระนเรศวร

 

      ในครั้งแผ่นดินพระนเรศวรก่อนที่จะทรงสถาปนาสมเด็จพระพนรัตนั้น ก็มีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่ก่อนแล้ว แต่ด้วยทรงปรารถนาจะถวายความเคารพอย่างสูงสุดในองค์สมเด็จพระพนรัต (พระอาจารย์) จึงได้ทรงสถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชอีกพระองค์หนึ่ง ให้ทางเป็นผู้ปกครองสงฆ์ทางฝ่ายเหนือทั้งหมด ส่วนพระสังฆราชเดิมนั้นทรงให้ปกครองสงฆ์ทางฝ่ายใต้ ซึ่งตำแหน่งนี้สถาปนาให้อยู่ที่วัดพระศรีมหาธาตุตามพระราชประเพณี แต่สมเด็จพระพนรัตประสงค์ที่จะประทับ ณ วัดเจ้าพระยาไท ต่อมาเรียกชื่อว่าวัดวัดป่าแก้ว เนื่องจากพระองค์เป็นพระอรัญวาสี (วัดป่า) มีความชอบในการอยู่อย่างสงบนอกเมือง

 

      เมื่อเสร็จศึกสงครามยุทธหัตถี พุทธศักราช ๒๑๓๕ ครั้งถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนยี่ สมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ รวม ๒๕ รูปเข้าไปเฝ้า ถามข่าวถึงการเสด็จพระราชสงครามตามประเพณี สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงให้ฟังทุกประการ สมเด็จพระพนรัตได้ฟังแล้วจึงถวายพระนามว่า พระองค์มีชัยแก่ข้าศึก แต่เหตุไฉนข้าราชการทั้งปวงจึงต้องรับราชทัณฑ์ สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า นายทัพนายกองเหล่านี้กลัวข้าศึกมากกว่ากลัวพระองค์ และให้แต่พระองค์สองคนพี่น้อง ฝ่าเข้าไปท่ามกลางศึก จนได้ทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ต่อเมื่อมีชัยกลับมาจึงได้เห็นหน้าพวกเหล่านี้ นี่หากว่าพระองค์ยังไม่ถึงที่ตาย หาไม่แผ่นดินก็จะเป็นของชาวหงสาวดีไปเสียแล้ว

 

      เหตุนี้พระองค์จึงได้ลงโทษตามอาญาศึก สมเด็จพระพนรัตจึงถวายพระพรว่า เมื่อพิเคราะห์ดูข้าราชบริพารเหล่านี้ ที่จะไม่กลัวพระองค์ท่านนั้นหามได้ เหตุทั้งนี้เห็นจะเผอิญเป็นเพื่อจะให้พระเกียรติแก่พระองค์เป็นอัศจรรย์ เหมือนสมเด็จพระสรรเพชญพุทธเจ้า

 

      เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเหนืออปราชิตบัลลังก์ใต้ควงไม้มหาโพธิ์ครั้งนั้น เทพเจ้าก็มาเฝ้าพร้อมกันหมื่นจักรวาล พระยาวัสวดีมารยกพลเสนามาผจญ ถ้าพระพุทธเจ้าได้เทพเจ้าเป็นบริวาร มีชัยแก่พระยามารก็หาสู้เป็นอัศจรรย์ไม่ เผอิญให้หมู่เทพเจ้าทั้งปวงปราศนาการหนีไปสิ้น เหลือแต่พระองค์เดียวสามารถผจญให้เหล่ามารปราชัยไปได้ จึงได้พระนามว่า“พระพิชิตมาร โมฬีศรีสรรเพชญตาญาณ”เป็นมหาอัศจรรย์บันดาลไปทั่วอนันตโลกธาตุ ก็เหมือนทั้งสองพระองค์ครั้งนี้ ถ้าเสด็จพร้อมด้วยโยธาหาญมาก และมีชัยชนะแก่พระมหาอุปราชา ก็จะหาสู้เป็นอัศจรรย์แผ่พระเกียรติยศให้ปรากฎแก่นานาประเทศไม่ อันเหตุที่เป็นทังนี้ เพื่อเทพเจ้าทั้งปวงอันรักษาพระองค์จักสำแดงพระเกียรติยศเป็นแน่แท้

 

      สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงฟังแล้วก็ทรงพระปิติโสมนัส ตรัสว่า อันพระคุณเจ้ากล่าวมานี้เห็นควรหนักหนา สมเด็จพระพนรัตจึงไดถวายพระพรว่า ข้าราชบริพารซึ่งต้องโทษเหล่านี้ก็ผิดหนักหนาอยู่แล้ว แต่ทว่าได้ทำคุณงามความดีมา แต่ครั้งสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชเจ้า และสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ตลอดมาจนถึงพระองค์ดุจพุทธบริษัทสมเด็จพระบรมครู จึงขอพระราชทานอภัยโทษต่อข้าราชบริพารเหล่านี้ไว้สักครั้งหนึ่ง จะได้ทำคุณงามความดีฉลองพระเดชพระคุณท่านสืบไป สมเด็จพระนเรศวรฯ จึงมีรับสั่งว่าเมื่อสมเด็จพระพนรัตขอแล้ว พระองค์ก็จะถวายให้ แต่ทว่าจะต้องไปตัเมืองตะนาวศรี เมืองทวายแก้ตัวก่อน สมเด็จพระพนรัตถวายพระพรว่า การจะใช้ไปตีบ้านตีเมืองนั้น สุดแต่พระองค์จะสงเคราะห์ มิใช่กิจของสมณะ แล้วก็ถวายพระพรลากลับไป

จากประวัติศาสตร์ที่เผยแพร่ชัดเจนมายาวนานนี้ น่าจะเป็นข้อจดจำในสำนึกของเราชาวไทยทั้งหลาย ในพระคุณของสมเด็จพระพนรัตผู้เป็นที่เคารพเทิดทูน แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรฯ ผู้ทรงพระคุณอันใหญ่หลวงของชาวไทย สมควรที่เราชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้ระลึกเทิดทูนบูชากราบไหว้ในพระคุณของพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงกระทำให้เราเป็นไทยมาตราบเท่าทุกวันนี้

 

      • หากสมเด็จพระพนรัตไม่ทราบยับยั้งแผนการของพระนาเกียรติ – พระยาราม เราชาวไทยคงไม่มีองค์พระนเรศวร ผู้ทรงปรีชาสามารถมากอบกู้ชาติบ้านเมือง ให้เป็นปึกแผ่นตราบเท่าทุกวันนี้

 

      • หากสมเด็จพระพนรัตไม่ทรงบิณฑบาตร ขอชีวิตเหล่าทหารในการทำศึกสงครามยุทธหัตถี ก็จะทำให้ไพร่พลขาดกำลังใจ และขาดคนดีที่จะมาช่วยชาติบ้านเมืองได้อีกมากมาย ซึ่งในกาลนี้ขอให้ทุกคนหันกลับมามองดูว่า แม้อาญาเมืองยิ่งใหญ่เพียงใด แต่ด้วยเดชแห่งบุญสังฆบารมี อันสมเด็จพระพนรัตได้แสดงถวายแด่สมเด็จพระนเรศวรฯ ยังทรงพิจารณา โดยไม่ทรงถือเอาภัยอันพระองค์ได้รับนั้น มาเป็นใหญ่เหนือพระศาสนา และคำเตือนของพระมหาเถระผูประเสริฐ จึงยังทำให้แผ่นดินสงบร่มเย็นสืบมา แสดงให้เห็นถึงพระคุณธรรมอันมิในใจเป็นชาตินักรบอย่างแท้จริงขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า

 

      จึงขอให้เราชาวไทยทุกคนในแผ่นดินจงมีสติ อย่าเห็นแก่ลาภยศ อำนาจ วาสนา จนลืมตัวและขาดการยกย่องในผู้ปฏิบัติหนักแน่นในศีลในธรรม ถ้าเรายกเอาองค์พระนเรศวรมหาราชเจ้าที่ได้ทรงกระทำเป็นแบบอย่าง ชาติไทยจักวัฒนาถาวรสืบไป

 

3. พระอภัยสารทะ  สังฆปาโมกข์ (ครูบาฝายหิน)

ประวัติย่อ

พระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์(ครูบาฝายหิน)

          ปฐมสังฆนายะกะ “ โสภา ”  เจ้าคุณพระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์ (อุ่นเรือน โสภโณ)

วัดฝายหิน บ้านฝายหิน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่  
 

ปฐมสังฆราชาแห่งมหานครเชียงใหม่ล้านนา         

         เต่าสี (มะโรง-จัตวาศก) พ.ศ. ๒๓๗๔ สามีภรรยาชาวเขิน ชื่อหนานอินต๊ะ และนางซอน ได้กำเนิดลูกชายในวันอังคารขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘  ตั้งชื่อว่า“ควาย” เมื่อเติบโตขึ้นพอช่วยบิดามารดาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ เมื่อเด็กชายควายอายุได้ ๑๑ ปี

ก็ได้มี สาธุเจ้าครูบามารวิชัย ได้ขออนุญาตจาก หนานอินต๊ะให้ไปอยู่วัดด้วย ควายจึงมาเป็นลูกศิษย์วัดฝายหินกับครูบามารวิชัย  จวบจนอายุได้ ๑๕ ปี ครูบามารวิชัยผู้เป็นอาจารย์ได้ทำการบรรพชา ให้เป็นสามเณรในปีนั้น สามเณรควายเมื่อได้อุตส่าห์วิริยะทำการศึกษาอักขระสมัย และพระไตรปิฎกในสำนักของอาจารย์จนเข้าใจอักษรศาสตร์ และพระธรรมวินัยจนเชี่ยวชาญ เป็นที่ร่ำลือกันในสมัยนั้น ว่าสามเณรควายผู้นี้รู้ภาษาบาลี มูลกัจจายท-สัททศาสตร์ จนหาผู้ใดเสมอไม่ได้

         เมื่ออายุวัยล่วงมาได้ ๒๒ ปี ครูบามารวิชัยผู้อาจารย์ จึงให้ทำการอุปสมบท ในสำนักวัดฝายหินนั้น  โดยมีพระมหาเถรสวามี สิริวํโส วัดป่าแดง เป็นพระอุปัชฌาย์ สาธุเถรอินต๊ะ วัดป่าแพ่ง เป็นกรรมวาจาจารย์ สาธุเถรมารวิชัย วัดฝายหิน เป็นอนุสาวนาจารย์ โดยได้ฉายาทางศาสนาว่า โสภาภิกขุ

          พ.ศ. ๒๔๓๘ แต่งตั้งให้เป็น “ ปฐมสังฆนายก” องค์ที่ ๑ ของลานนาไทย โดยให้มีสมณะศักดิ์ตำแหน่งนามว่า “ ปฐมสังฆนายะกะโสภา วัดฝายหิน สังฆราชาที่หนึ่ง เชียงใหม่”

          ในปี พ . ศ. ๒๔๔๙ นั้น “ ครูบาฝายหิน” รัชกาลที่ ๕ ทรงถวายตำแหน่งพระราชาคณะให้ครูบาฝายหิน ดำรงสมณศักดิ์เป็น “ พระอภัยสารทะ สังฆปาโมกข์” เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และให้สังฆราชาวัดเชตุพน ดำรงสมณศักดิ์ “พระโพธิรังสี” เป็นรองเจ้าคณะใหญ่

          วันที่ ๒๑ เมษายน พ . ศ . ๒๔๕๗ ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา และได้มรณะภาพลง 

รวมสิริอายุได้ ๘๓ พรรษา

4. ครูบาคำแสน (ทิม) อินทจักโก)

ประวัติโดยย่อ

พระครูสุคันธศีล  หรือ ครูบาคำแสน (ทิม) อินทจักโก
วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

         

          หลวงปู่คำแสน กำเนิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2431 ตรงกับเดือน 3 เหนือ แรม 9 ค่ำ เวลา 06.00 น. ปีชวด ณ บ้านป่าพร้าวใน ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บิดาชื่อท้าวภูมินทร์พิทักษ์ มารดาชื่อคำป้อ รังสี   มีนามเดิมว่า ทิม เมื่อครั้งเยาว์วัย  เมื่ออายุ 10 ขวบได้เข้าวัด พออายุ 12 ปี จึงได้ขอบวชเป็นสามเณร ได้ตั้งใจเล่าเรียนค้นคว้าพระธรรมวินัย และวิปัสสนากรรมฐานกับครูบาอริยะ วัดคับภัย จนถึงอายุครบบวช 20 ปีบริบูรณ์ ได้รับฉายาว่า "อินฺทจกฺโก" แปลว่าผู้มีพลังดุจจักรพระอินทร์ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นอยู่ในสัมมา

ปฏิบัติ เมื่อบวชได้ 1 พรรษา ได้มีผู้นิมนต์ไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดอื่นๆ เกือบ 10 ปี                        

 

          หลวงปู่ได้ออกจาริกอบรมเผยแพร่ไปในท้องที่ต่าง ๆ เช่น อำเภอสะเมิง และตามป่าดอยของภาคเหนือ ต่อมาภายหลังท่านหลวงปู่คำแสน หรืออีกนามหนึ่งคือ "พระครูสุคันธศีล" ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนดอก ซึ่งเป็นวัดหลวงของจังหวัด เชียงใหม่ ท่านได้ทำนุบำรุง และอนุรักษ์วัดสวนดอกเป็นเวลา 30 ปี ท่าน มีดวงจิตเหนืออิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ จนได้รับสมญานามว่า "รอยยิ้มแห่งพระอรหันต์"

หลวงปู่คำแสนได้มรณภาพด้วยความสงบ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2519 เวลา 24.00 น. รวมอายุได้ 88 ปี 3 เดือน "รูป ร่างกายจะย่อยยับดับไป แต่ชื่อความดีโคตรหาดับไปไม่ ฯ"

5. หลวงพ่อบุคคโล ภูริปัญโญ (วัดช่องกุ่ม)

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อบุคคโล ภูริปัญโญ (วัดช่องกุ่ม)

(ปัจจุบันคือ วัดป่าช่องกุ่ม ต.ช่องกุ่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว)

         

          ประวัติเก่าข้อมูลเดิมของหลวงพ่อบุคคโล ก่อนท่านยังไม่ได้อุปสมบท เดิมที ท่านเป็นฆราวาส ชื่อว่า นวนละออออง คําภีรปัญญา มาแต่จังหวัดเมือง ศรีษะเกษ เป็นหมอลํามาก่อน มาแต่ ทางภาคอีสาน ท่านได้เดินทางมาท่องเที่ยวและเป็นหมอลําอยู่ในเขต อําเภอเมืองกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนยังไม่มีชื่อหลวงพ่อบุคคโล ยังไม่มีอําเภอวัฒนานคร ท่านเป็นหมอลําเก่ามีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ ลูกหลานฟังว่า ท่านได้แข่งขันหมอลํากับคณะอื่นและแพ้เขา ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มาเป็นพ่อค้าขายวัวควายแต่ก็ ขาดทุน จึงตัดสินใจเข้าวัดอุปสมบทมี พระครูทอง บ้านเหล่าคลองกลาง ตําบลหันทราย เป็นอุปัชฌาย์ของท่าน เมื่อท่านอุปสมบทแล้วก็มาอยู่วัดช่องกุ่ม ท่านมีชีวิตอายุยืนยาวนาน ชื่อเสียงโด่งดัง ท่านตั้งชื่อของท่านว่า บุคคโล วัดช่องกุ่ม เมื่อหลวงพ่อบุคคโลได้อุปสมบทในร่มกาสาวพัสตร์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วท่านก็ตั้งใจศึกษาเล่า เรียน ปฏิบัติธรรมวินัยเรียนวิปัสสนากรรมฐาน อย่างเคร่งครัด ท่านได้อภิญญา 6 คือ  

  1.      1.  อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้

  2.       2. ทิพพโสต มีหูทิพย์

  3.       3. เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้

  4.      4. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้

  5.       5. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์

  6.       6. อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป 

(อภิญญา 5 ข้อแรก (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะใน พระอริยบุคคล)

6. หลวงพ่อผมยาว (ปู่ฤๅษีผมยาว)

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อผมยาว (ปู่ฤๅษีผมยาว)

         

          หลวงพ่อผมยาว (ปู่ฤๅษีผมยาว) ท่านนี้เป็นผู้ทึ่มีบุคลิกพิสดาร ไม่ใช่พระภิกษุ  ไม่ใช่คนปกติอย่าง เราท่าน จะเรียกว่าเป็นคนที่อยู่ในจำพวกฤาษี

         

          หลวงพ่อผมยาว มีนามเดิมว่า ติ่ง อยู่บ้านหนองลี่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี บิดาชื่อแถว มารดาชื่อ คำภา ไม่ทราบนามสกุล ครอบครัวพ่อผมยาวอพยพมาอยู่บ้านตาลศาลจอด ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครราวๆปี 2450 อยู่ที่นี่ปีเดียวก็ย้ายมาอยู่บ้านเพียปู่ ต.ไชยวาน อำเภอหนองหาร จังหวัดอุดรธานี  เรียนสำเร็จวิชาพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ อพยพมาอยู่บ้านแดง วัดพระแท่น ต.พิบูลรักษ์ จ.อุดรธานี มาอยู่กับ   หลวงพ่อพิบูลย์ ณ วัดพระแท่น ต.พิบูลย์รักษ์  ท่านจะฟังหลวงพ่อพิบูลย์องค์เดียวเท่านั้น   และ    จะเคารพหลวงพ่อพิบูลย์มาก  ท่านมักจะทำตัวเหมือนคนบ้า ในสายตาคนทั่วไป

         

          หลวงพ่อผมยาวมีชีวิตยืนยาวมาจนปี 2522 ได้ป่วยเป็นโรคเท้าบวมทั้ง 2 ข้าง (สงสัยว่าจะเป็นโรคเท้าช้างหรือโรคไตไม่ทราบ)ไม่ยอมไปหาหมอ ไม่ยอมรับยา โดยบอกว่าถึงเวลา ที่จะต้องตายแล้ว ในที่สุดพ่อผมยาวก็ถึงแก่กรรมหลังจากป่วยได้ 1 เดือนมีอายุ 82 ปี 

 

          ลูกศิษย์ลูกหาที่นับถือท่าน เก็บศพเอาไว้จนปี 2524 จึงฌาปนกิจศพ และพระครูมัญจาภิรักษ์ ได้เก็บกระดูกพ่อผมยาวไว้จนปี 2531 จึงมีนายหล่อ มัสยานนท์ พร้อมด้วยเพื่อนฝูงเดินทางมาหา โดยเล่าว่าฝันเห็นพ่อผมยาวจึงเดินทางมาตามความฝัน และพบว่าที่ตนฝันเห็นพ่อผมยาวนั้น กลับเป็นฝันที่มีตัวตนจริง ทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักพ่อผมยาวมาก่อน
 

7. หลวงพ่อเกษม เขมโก (ครูบาเจ้าเกษม เขมโก)

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อเกษม เขมโก (ครูบาเจ้าเกษม เขมโก)

สำนักสุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง

 

          หลวงพ่อเกษม เขมโก หรือ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระเถระและเกจิอาจารย์ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทยและมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย

          หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

                              สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง   ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมีพระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

 

พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว  ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญ ในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน  ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวก และบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก  จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราว ท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

 

          ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้ง เนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทาน พร้อมเขียนข้อความลา ออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

 

          หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19:40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ  ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพ

ของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก  
 

8. หลวงปู่ละมัย  ฐิตมโน

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน

สำนักสงฆ์คีรีนามฑาสุขาวดี(สวนสมุนไพร)

          หลวงปู่ละมัย ฐิตมโน สำนักสงฆ์คีรีนามฑาสุขาวดี(สวนสมุนไพร)  ต.บ้านโตก อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์  ตามใบหนังสือสุทธิ ที่หลวงพ่อสินชัย  ได้จดบันทึกไว้ก่อนที่ไฟจะไหม้กุฏิหลวงปู่เมื่อปี พ.ศ.2537 ได้ระบุไว้ว่า  เกิดปี พ.ศ.2403  หลวงปู่ท่านบวชเณรเมื่ออายุ 15 ปี เรียนมูลกัจจายน์

อุปสมบทปี พ.ศ.2443  เดินธุดงค์มาทั่ว ทั้งไทย ลาว เขมร พม่า ได้วิชาต่างๆมามาก  และช่วยเหลือลูกศิษย์ ลูกหาด้วยปรอท และยาสมุนไพรต่างๆมาโดยตลอด

          หลวงปู่ละมัยได้มรณภาพเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2554 เวลาประมาณ 2.00 น.  ในระหว่างเข้าสมาธิ ก่อนมรณภาพได้สั่งไว้ว่า  อย่าทำอะไรกับสังขารท่าน เอาไว้เฉยๆ ไม่ต้องฉีดยา ไม่ต้องสวด 9 วัน

และมีพิธีบรรจุศพลงในโลงแก้ว เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.  2554 เวลา13.00 น. รวมสิริอายุได้  151 ปี

9. หลวงปู่ขาว อนาลโย

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ขาว อนาลโย

วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

       หลวงปู่ขาว อนาลโย เป็นพระภิกษุ คณะธรรมยุติกนิกาย  พระกรรมฐาน สายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต  นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ต.หนองแก้ว อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ)   บิดาชื่อ พั่ว โคระถา มารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 ทำอาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย

อุปสมบทเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ที่วัดโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือวัดบ่อชะเนง) บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ สังกัดคณะมหานิกาย มีท่านพระครูพุฒิศักดิ์ฯ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และจำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี 6 พรรษา  ต่อมาหลวงปู่ขาวเกิดความศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต  จึงได้ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุติกนิกายเมื่อ พ.ศ. 2468 ขณะมีอายุได้ 37 ปี ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุฑโฒ เป็นพระกรรมวาจาจารย์  ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นต่าง ๆ จนในที่สุดก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่ วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ. 2501 จวบจน มรณภาพ เมื่อวันจันทร์ที่ 16 พ.ค. 2526    อายุ 95 ปี 64 พรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้เป็นศพในพระบรมราชานุเคราะห์พระราชทานเพลิงศพวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527

10. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (ดูลย์ อตุโล)

ประวัติโดยย่อ

พระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

 

         พระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล  เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระ ชาวสุรินทร์

ศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต  หลวงปู่ดูลย์ ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ เกิดเมื่อวันอังคารแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน  ตรงกับวันอังคารที่ 4 ตุลาคม 2430  เป็นปีที่ 20 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บิดาชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก หลวงปู่มีพี่น้อง 5 คน คนแรกเป็นหลวงปู่ ดูลย์ เป็นลูกคนที่สอง

         อุปสมบท ณ วัดจุมพลสุทธาวาส อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในพ.ศ. 2453 โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อแรกบวช หลวงปู่ได้พากเพียรศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัด มีความวิริยะ อุตสาหะอย่างแรงกล้า จนล่วงเข้าพรรษาที่ 6 หลวงปู่จึงหันมาศึกษาพระปริยัติธรรม และได้ศึกษาบาลี- ไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์)  ที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลราชธานี สอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นรุ่นแรก ของ จ. เนื่องจากวัดสุทัศน์ เป็นวัดที่อยู่ในสังกัดธรรมยุตินิกาย หลวงปู่จึงได้ขอญัตติเป็นธรรมยุตินิกายในพ.ศ. 2461 ณ วัดสุทัศน์โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์  และในพรรษาต่อมาหลวงปู่ได้มีโอกาสพบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว จากพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่าง ๆ หลายแห่ง  จึงนับได้ว่า หลวงปู่เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่นในสมัยแรก 
          หลวงปู่ท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2526 เวลา 04.13 น. รวมสิริอายุได้ 96 ปี 26 วัน พรรษาที่ 74 พระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2528

11. หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณโณ

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณโณ
วัดหนองจอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

       หลวงพ่อยิด จนฺทสุวณโณ  เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีชวด

นามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ บิดาชื่อ แก้ว มารดาชื่อ พร้อย มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 7 คน เป็นบุตรคนที่ 4

อุปสมบทครั้งแรก ปี พ.ศ.2496,  อุปสมบทครั้งที่สอง วันที่ 20 มี.ค. พ.ศ.2517

พรรษา 21 อายุ 62 ปี และมรณภาพ  วันที่ 31 กรกฏาคม พ.ศ. 2538 

         บรรพชาเป็รสามเณร เมื่ออายุ 6 ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ พระอาจารย์หวล วัดนาพรม (ท่านเป็นน้าของ ด.ช.ยิด)
         

         อุปสมบท ครั้งแรก อายุ 20 ปี ณ.วัดนาพรหม โดยมีพระเทพวงศาจารย์(อินทร์) เจ้าอาวาส วัดยาง และเจ้าคณะจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์  หลวงพ่อหวล เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์พ่วง  วัดสำมะโรง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “จนฺทสุวณฺโณ” มีความหมายว่า “ผู้มีวรรณะดุจพระจันทร์” จำพรรษา อยู่ที่วัดประดิษฐาราม นาน 7 พรรษา ต่อมาบิดาเสียชีวิต ท่านจึงลาสิกขาออกมาดูแลมารดา และได้มีครอบครัวอยู่กินกับนางธิติจนมีบุตรหนึ่งคน ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีก 
         

         อุปสมบทครั้งที่สอง อายุ 50 ปี วันที่20 มีนาคม พ.ศ. 2517 ณ.พัทธสีมา วัดเกาะหลัก โดยมี หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก เป็นพระอุปัชฌาย์  หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่  วัดทุ่งน้อย ต.เขาแดง อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์   ต่อมาผู้มีจิตศรัทธาซึ่งเลื่อมใสในตัวท่านได้มอบที่ดิน 21 ไร่ 2 งาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี ให้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ “สำนักสงฆ์พุทธไตรรัตน์”

เมื่อปี พ.ศ.2518 ก่อนจะขออนุญาตสร้างเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2527 ตั้งชื่อว่า “วัดหนองจอก”

ปี พ.ศ.2535 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพัดยศแก่ท่าน

เป็น “พระครูนิยุตธรรมสุนทร”

12. หลวงปู่สิงห์ทน นราสโภ

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่สิงห์ทน นราสโภ (พระอ.ดร.สิงห์ทน นราสโภ)
สถานปฏิบัติธรรมพระนเรศดอยเชียงดาวเทพพรหมเนรมิต

 

หลวงปู่สิงห์ทน นราสโภ หรือ พระอ.ดร.สิงห์ทน นราสโภ

สถานปฏิบัติธรรมพระนเรศดอยเชียงดาว ฯ โดยมูลนิธิพระะรรมจักร

บ้านถ้ำ หมู่ 5 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

 

        เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2479  ปีชวด ณ บ้านเลขที่ 176 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ นามเดิม สิงห์ทน คำซาว บุตร นายผึ้ง-นางเขี้ยว  คำซาว

อุปสมบทครั้งแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราชป๋า (ปุ่น ปุณฺณสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์ 

ณ พัทธสีมา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์ ท่าเตียน)

อุปสมบทครั้งที่สอง ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537

       

          บรรพชาเป็นสามเณร  เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดอินทาราม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 

เมื่อปี พ.ศ. 2493  โดยทุนของ หลวงพ่อทองคำ ฐิตสีโล ณ วัดสิงห์วรมหาวิหาร  ศึกษาภาษาบาลี และนักธรรม จบ น.ธ.เอก และ ป.ธ. 4   พักอยู่ ณ วัดราชวรินทร์ ชั่วคราว  แล้วย้ายไปเรียนต่อ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่า-เตียน)

 

         จากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระโดย  สมเด็จพระสังฆราชป๋า (ปุ่น ปุณฺณสิริ) เป็นพระอุปัชฌาย์   พระธรรมเสนานี (ฟุ้ง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

ณ พัทธสีมา  วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) แล้วเรียนต่อจนจบ ป.ธ. 7,

พม., พธ.บ.,M.A. และ PH.D. ทางปรัชญา จากมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร  เขตท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร   และระดับปริญญาเอก จาก มหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย โดยลำดับ

      

      ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระปิฎกโกศล และ พระทักษิณคณาธิกร  พระปลัดขวาของ  สมเด็จพระอริย- วงศาคตญาณ  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนฯ เป็นรองเลขาธิการ มหาจุฬาฯ  เป็นรองเจ้าคณะภาค 12 ปกครองปราจีณบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา

เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชป๋า (ปุ่น ปุณฺณสิริ) สิ้นพระชนม์ได้ลาสิกขา  เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 

        อยู่เป็นฆราวาส 19 ปี  ได้ใช้ชีวิตสอนวิชาปรัชญา และศาสนา ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   และทำสวนผลไม้   แล้วได้ลาออกจากราชการก่อนเกษียณอายุ

      ได้อุปสมบทอีกครั้ง  ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 (ตรงกับวันที่ลาสิกขาครั้งก่อน)  โดยมี พระครูเวฬุวันพิทักษ์  เป็นพระอุปัชฌาย์  และได้ทำหน้าที่เป็น  พระธรรมทูตต่างประเทศ จนกระทั่งปัจจุบัน

13. พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

ประวัติโดยย่อ

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์  (คล้าย จันทสุวัณโณ)
วัดสวนขัน เทวดาเมืองคอน
 

         พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ  หรือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ  วัดสวนขัน และวัดธาตุน้อย
ต.ละอาย อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช  
เกิดวันที่ 27 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95  ที่บ้านโคกทือ ต.ช้างกลาง กิ่งอ.ช้างกลาง  จ.นครศรีธรรมราช
นามเดิม คล้าย สีนิล  บุตร ของนายอินทร์-นางเหนี่ยว สีนิล

บรรพชา เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี)
อุปสมบทในปี พ.ศ.2439 (อายุ 20 ปี)
ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง ฉายา”จันทสุวัณโณ”
มรณะภาพ วันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา23.05 น. รวมอายุได้ ๙๖ ปี

 

         พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์" นามตามสมณศักดิ์ ท่านคือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช พ่อท่านคล้าย  นามเดิมว่า "คล้าย สีนิล" เกิดตรงกับ วันที่ 27 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง  พ่อท่านคล้าย   ๑๕ ปี หลวงพ่อคล้ายประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

         

         บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ  

         

         ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.2439 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง โดยมีพระอาจารย์กราย คังคสุ วัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สังข์ สิริรตโน เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง ปทุมสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดวังม่วงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์ล้อม ถิรโชโต เป็นผู้ให้สรณคมน์และศีล ได้รับฉายาว่า จันทสุวัณโณ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสทั้ง 2 วัด วัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ และวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ.๒๕๐๐ จนมรณภาพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2513 เวลา23.05 น.

พ่อท่านคล้าย มรณะภาพด้วยอาการสงบ รวมอายุได้ ๙๖ ปี

14. สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก

พระประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)
 

         ประสูติ  3 ตุลาคม พ.ศ. 2456  สิ้นพระชนม์  24 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พระชันษา  100 ปี 21 วัน  อุปสมบท  พ.ศ. 2476  พรรษา 80 ปี 329 วัน
วัด วัดบวรนิเวศวิหาร  กรุงเทพมหานคร  สังกัดธรรมยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา นักธรรมชั้นเอก  เปรียญธรรม 9 ประโยค 
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์  สกลมหาสังฆปริณายก  
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

 

          พระประวัติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

(  สุวัฑฒนมหาเถระ  เจริญ คชวัตร  ) วันที่ ๓ ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันประสูติของเจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์พระประมุขแห่งสังฆมณฑล

 เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖ โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง  วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๘๔

         

          เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา  ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน มาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ

15. หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อเงิน (เงิน พุทธโชติ) วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) จ.พิจิตร 

 

      หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (เงิน พุทธโชติ) นามเดิมว่า "เงิน"เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายอู๋-นางฟัก  ชาวกำแพงเพชร  เกิด วันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348
มรณภาพ  วันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462

บรรพา อายุ 12 ปี  อุปสมบท  อายุ 20 ปี  ที่วัดชนะสงคราม (กรุงเทพฯ)
ฉายา “พุทธโชติ”  สิริรวมอายุ  111 ปี  พรรษา  90 

 

          หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เป็นชาวบ้านบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรคนที่ 4 บิดาของท่านชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาของท่านชื่อฟัก เป็นชาวบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คนด้วยกัน (มีพี่น้องร่วม บิดาเดียวกัน ทั้งหมด 6 คน คนที่ 1 ชื่อ พรม คนที่ 2 ชื่อทับ คนที่ 3 ชื่อ ทอง คนที่ 4 ชื่อ เงิน คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ คนที่ 6 ชื่อ รอด)
 

          เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พา หลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่ง หลวงพ่อเงิน เติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ หลวงพ่อเงิน ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมา จนหลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร

 

          เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา “พุทธโชติ” แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์  เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคม ตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี  จากเจ้าพระคุณสมเด็จ- พระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี   วัดระฆังโฆสิตาราม
         

          ต่อมา หลวงพ่อเงิน ย้ายมาจำพรรษาที่ วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) จ.พิจิตร ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นที่รู้จักกันในชื่อ หลวงพ่อเงิน หรือ หลวงปู่เงิน  นอกจากนี้ศิษย์ที่เป็นฆราวาส ก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท้ายที่สุด หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาจารย์

 

         หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแม

เวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมาย นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนนานมากที่สุดรูปหนึ่ง 

16. หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม (คง ธมฺมโชโต)  

       

        หลวงพ่อคง ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๐๘ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลู ณ บ้านสำโรง ปัจจุบันคือ ต.โรงหีบ อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม เป็นบุตรของ นายเกตุ กับ นางทองอยู่ ต่อมานามสกุลที่ท่านใช้คือ นามสกุล "จันทร์ประเสริฐ" ซึ่งเป็นต้นสกุลของหลวงพ่อคง
 

        เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โยมบิดาและโยมมารดาให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้ง ละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่า  เย็นวันนั้น  หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่าน ถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจงกันเป็นการใหญ่ จนมีอายุ ๑๙ ปี ก็ได้ลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน เพื่อช่วยการงานของพ่อและแม่
 

        พออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ลาโยมบิดาและมารดา เพื่อเข้าอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่

เมื่อปี ๒๔๒๗ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์   และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้นามฉายาว่า "ธมมฺโชโต" อันแปลว่า เป็นผู้รุ่งเรืองโดยธรรม
 

        หลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ จนกระทั่งพรรษาที่ ๒๑ ในปี ๒๔๔๘ ชาวบ้าน

ใน ต.บางกะพ้อม ได้อาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ด้วยตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง

หลังจากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม  หลวงพ่อได้ทำการฟื้นฟูบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้สร้างความเจริญให้แก่วัด สำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น หลวงพ่อคงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม  และแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ใน พ.ศ.๒๔๖๔ และท่านได้สร้างวัตถุมงคลหลายชนิดด้วยกัน

17. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง (พระครูกิตตินนทคุณ)  

       

         พระครูกิตตินนทคุณ หรือ หลวงพ่อกี๋  นามเดิมว่า กี๋ บุญใจใหญ่  เป็นบุตรของนายคอย-นางไฝ บุญใจใหญ่ เกิดเมื่อปี  พ.ศ. 2444  ปีฉลู  จังหวัดนนทบุรี โดยกำเนิด มรณภาพ พ.ศ. 2522 อายุ 78 อุปสมบท  พ.ศ. 2464 ณ พัทธสีมา วัดหูช้าง ตำบลคูเวียง อำเภอบางกรวย นนทบุรี  

พรรษา 58 วัดหูช้าง นนทบุรี  อดีตเจ้าอาวาส วัดหูช้าง

        เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี โยมบิดาและโยมมารดาให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ระหว่างเป็นสามเณรสนใจในวิชาเมตตามหานิยม พอใกล้บวชพระได้สึกจากสมเณร และได้ทดลองวิชาเมตตามหานิยมดูว่าจะขลังจริงหรือไม่ โดยเสกสีผึ้ง ละลายน้ำไปให้หญิงผู้หนึ่งซึ่งอยู่ทางใต้น้ำ ปรากฏว่า  เย็นวันนั้น  หญิงสาวหอบผ้าหอบผ่อนมาหาท่าน ถึงบ้าน และร้องไห้จะขออยู่ด้วยให้ได้ ทำให้วุ่นวายชี้แจงกันเป็นการใหญ่ จนมีอายุ ๑๙ ปี ก็ได้ลาสิกขากลับมาอยู่บ้าน เพื่อช่วยการงานของพ่อและแม่

        พออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ลาโยมบิดาและมารดา เพื่อเข้าอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่

เมื่อปี ๒๔๒๗ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์   และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้นามฉายาว่า "ธมมฺโชโต" อันแปลว่า เป็นผู้รุ่งเรืองโดยธรรม
 

        หลังอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ จนกระทั่งพรรษาที่ ๒๑ ในปี ๒๔๔๘ ชาวบ้าน

ใน ต.บางกะพ้อม ได้อาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม ด้วยตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง

หลังจากที่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม  หลวงพ่อได้ทำการฟื้นฟูบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ ภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม ด้วยท่านมีฝีมือในการพัฒนาเป็นทุนเดิม จึงทำให้สร้างความเจริญให้แก่วัด สำเร็จลุล่วงในเวลาอันสั้น หลวงพ่อคงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม  และแต่งตั้งเป็น พระอุปัชฌาย์ ใน พ.ศ.๒๔๖๔ และท่านได้สร้างวัตถุมงคลหลายชนิดด้วยกัน

18. หลวงปู่สาย ปภาโส  วัดบางรักใหญ่

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่สาย ปภาโส  วัดบางรักใหญ่ 

          หลวงปู่สาย ปภาโส หรือ พระครูนนทการประสิทธิ์  (เจ้าอาวาสวัดองค์ที่ ๘)

วัดบางรักใหญ่ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี

เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนนทบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ ปีฉลู

         

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

19. หลวงปู่สิงห์ (พระอาจารย์สิงห์) ขันตยาคโม

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่สิงห์ (พระอาจารย์สิงห์) ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน

          หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม  แห่งวัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
นามเดิมว่า สิงห์ บุญโท เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2432 ปีฉลู ที่บ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี

         

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

20. หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต วัดพระขาว

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต หรือ พระครูสังวรสมณกิจ

 

          หลวงปู่ทิม อตฺตสนฺโต หรือ พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม อตฺตสนฺโต) 
นามเดิมชื่อ "ทิม งามศรี"เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 ปีเถาะ  ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2422 
เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายแจ้า นางอินทร์ เกิดที่บ้านรหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ 2 ต.ละหาร (ปัจจุบันเป็น หมู่ 1 ต.หนองบัว) อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

 

          อุปสมบทเมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449 ตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ ได้รับฉายานามสงฆ์ว่า "อิสริโก" ได้อุปสมบทที่วัดทับมา โดยพระครูขาว เจ้าคณะแขวงเมืองระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสิงห์เป็นกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการเกตุเป็นอนุสาวนาจารย์ โดยทำพิธี
มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อเวลา 23.00 น. ของวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2518 อายุ 96 ปี พรรษา 72 

21. หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย

 

          หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร นามเดิมว่า สง เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2432 ปีขาล
ณ บ้านหนองหลวง จังหวัดชุมพร เกิดเมื่อ วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ.2432
มรณภาพเมื่อ วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 สิริรวมอายุ 94 ปี

          

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

22. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี

 

          หลวงพ่อแดง หรือ พระครูญาณวิลาศ (แดง รตฺโต) เกิดเมื่อวันวันพุธ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ. 2422 ปีขาล  ที่ตำบลบางจาก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 
มรณภาพเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 อายุ 96 ปี พรรษาที่ 74

          

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

23. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี

          หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี   พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (เทสก์ เทสรังสี) 
มีนามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ.2445 ปีขาล 
ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ จังหวัดอุดรธานี  

         

          ถึงแก่มรณะภาพด้วยอาการอันสงบ ของวันที่ 17 ธันวาคม ๒๕๓๗  ณ วัดถ้ำขาม อ.พรรณนิคม จ.สกลนคร  สิริอายุได้ 92 ปี 235 วัน๒๑ วันพรรษา 71

24. ครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย

ประวัติโดยย่อ

ครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิไชย (พระอินท์เฟือน สิริวิชโย)

          ครูบาศรีวิชัย (พระอินท์เฟือน สิริวิชโย) นามเดิมชื่อ "เฟือน" หรือ "อินท์เฟือน" บ้างก็ว่า "อ้ายฟ้าร้อง" เนื่องจากในขณะที่ท่านเกิด มีปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์       
          

          ท่านเกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค่ำ จ.ศ. 1240 เวลาพลบค่ำ  ตรงกับวันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2421

ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน (ปัจจุบันคือตำบลศรีวิชัย) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
          

          มรณภาพเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้างปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน           สิริอายุได้ 59 ปี พรรษา 39  ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็นเวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ

25. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย 

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อเนียม วัดน้อย (เนียม ธมฺมโชติ)

          หลวงพ่อเนียม วัดน้อย (เนียม ธมฺมโชติ) เกิด พ.ศ. 2372 ปีขาล 
มรณภาพ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 อายุ 80

          หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ชาติภูมิชาวสุพรรณบุรี บิดาเป็นชาวบ้านซ่อง ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ไม่ทราบชื่อ ส่วนมารดาเป็นชาวบ้านป่าพฤกษ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ชื่อว่า เนื่อง  หลวงพ่อเนียมมีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันหลายคน แต่ไม่ทราบชื่อ ทราบเพียงว่าหนึ่งในนั้นมีพี่สาวชื่อว่า จาด  
หลวงพ่อเนียมท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2370 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บ้านป่าพฤกษ์ ต.ตะค่า อ.บางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

 

           ต่อมาท่านบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบเกณฑ์อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. 2390 (สันนิษฐานว่าเป็นวัดป่าพฤกษ์ อันเป็นวัดบ้านเกิดใกล้บ้านท่าน ) ภายหลังได้ศึกษาพระธรรมวินัย และมูลกัจจายน์ ที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร (ดังปรากฏหลักฐานนามท่านในบัญชี รายนามพระภิกษุที่จำวัดมหาธาตุฯ) และสันนิษฐานกันว่าท่านเคยไปพำนักจำพรรษา ศึกษาวิชาความรู้ จากวัดระฆังโฆษิตาราม ในสมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังษี) อีกด้วย           กระทั่งเมื่อมีอายุประมาณ40ปีจึงเดินทางกลับบ้านเกิดจำพรรษาอยู่วัดรอเจริญ เกิดขัดกับเจ้าอาวาส สุดท้ายจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่วัดน้อย บูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อยจากวัดร้าง ให้เป็นวัดที่เจริญขึ้นมาใหม่
 

          ท่านมรณภาพในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์   นับเป็นพระสงฆ์องค์แรก ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2450 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  อายุได้ 80 ปี อยู่ในสมณเพศได้ 60 พรรษา

26. หลวงปู่เรือง วัดเขาสามยอด 

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร (บุญเรือง อาภัสสะโร)

          หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร (บุญเรือง อาภัสสะโร) ชื่อเดิมว่า บุญเรือง นามสกุล สุขสันต์ 
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 10 มกราคม 2457 (ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 2 ปีขาล) 
เวลา 08.00 น. ที่ ต.บ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี 
อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ ที่ 6 ก.ค. 2477 (ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ) เวลา 14.08 น.       ด้รับฉายาว่า “อาภสฺสโร” (อาภัสสะโร)  
หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร  เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมเขาสามยอด                                               ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี  ละสังขารแล้วอย่างสงบ ด้วยโรคชรา สิริอายุย่างเข้า 101 ปี

       

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

27. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่

         หลวงปู่ทิม อิสริโก นามเดิมชื่อ "ทิม งามศรี" เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2422  ที่บ้านรหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ 2 ต.ละหาร (ปัจจุบันเป็น หมู่ 1 ต.หนองบัว) อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

         

         อุปสมบทเมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449  ตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ ได้รับฉายานามสงฆ์ว่า "อิสริโก" 

มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2518 อายุ 96 ปี พรรษา 72

28. หลวงปู่ภู จันทะเกสะโร

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ภู จันทะเกสะโร หรือ พระครูธรรมานุกูล

         หลวงปู่ภู จันทะเกสะโร วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ
สมัยนั้นยังใช้ชื่อว่า "วัดบางขุนพรหมนอก" ปีพ.ศ.2432 และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปีพ.ศ.2435  เกิดที่หมู่บ้านวังหิน อ.เมือง จ.ตาก ตรงกับปีขาล พ.ศ.2373

 

         อายุ 21 ปี เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดท่าคอย ได้รับฉายานามว่า "จันทสโร"  มรณภาพเมื่อวันเสาร์ที่ 6 พ.ค. 2476 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา เวลา 01.15 น. 
สิริอายุได้ 104 พรรษา 83

          

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

29. ครูบาน้อย เตชะปัญโญ วัดศรีดอนมูล

ประวัติโดยย่อ

ครูบาน้อย เตชปญฺโญ หรือ พระครูสิริศีลสังวร

         ครูบาน้อย เตชปญฺโญ หรือ พระครูสิริศีลสังวร เจ้าอาวาส วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ครูบาน้อย ปัจจุบัน อายุ 65 พรรษา 43 นามเดิม ประสิทธิ์ กองคำ 
เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล 
บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่

          

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

30. พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา

ประวัติโดยย่อ

พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา 

         พระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง นามเดิมชื่อ นำ แก้วจันทร์
เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเก้า (สิงหาคม) พ.ศ.2434 ปีเถาะ
อุปสมบทครั้งที่ 2 ที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 
มรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2519 สิริรวมอายุได้ 85 ปี

          

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

31. หลวงพ่อปล้อง วัดกกโก

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อปล้อง วัดกกโก 

         หลวงพ่อปล้อง เรวโต วัดกกโก จังหวัดลพบุรี เกิดปีเถาะ

          

         (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

32. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อเต๋  คงทอง(คงสุวณฺโณ) วัดสามง่าม  

         หลวงพ่อเต๋  คงสุวัณโณ วัดสามง่าม เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ  
ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2434
          ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ อายุได้ 21 ปี เมื่อพ.ศ. 2454 
โดยมี พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา)  วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์ 
พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์  และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาทางธรรมว่า “คงทอง” 
ภายหลังเปลี่ยนเป็น “คงสุวัณโณ”  แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง

          

         (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

33. หลวงปู่เส่ง  วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่เส่ง โสภโณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

       

          หลวงปู่เส่ง (พระครูโศภณกัลยาณวัตร) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิ.ย. 2434 ที่บ้านย่านปากคลองตลาด เขตพระนคร กรุงเทพฯ  

 

          อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับปีพ.ศ. 2455 ณ วัดกัลยาณมิตร

ได้รับฉายาว่า "โสภโณ"สำหรับตำแหน่งสมณศักดิ์เดิมได้รับตำแหน่งเป็น  พระฐานานุกรมในท่านเจ้าคุณ พระสุนทรสมาจาร (พรหม) เป็นพระปลัด ปีพ.ศ.2493 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร  เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท (จปร.)

ที่ "พระครูโศภณกัลยาณวัตร" และอยู่ในสมณศักดิ์เดิมตราบจนสิ้นอายุขัย
มรณภาพไปเมื่อวันที่ 14 ม.ค.2526 สิริอายุได้ 92 ปี 7 เดือน 4 วัน นับพรรษาได้ 72 พรรษา

         

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

34. หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

       

          สมเด็จพระราชมุนี สามีรามคุณูปจารย์ (ปู สามีราโม) ที่เราเรียกกันติดปากภาษาชาวบ้านว่า
หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หรือสมเด็จเจ้าพะโคะ

 

          เกิด 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ปีมะโรง  อุปสมบทเมื่อปีพ.ศ. 2145  วัดช้างให้
จังหวัดปัตตานี  สมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระราชมุนี สามีรามคุณูปจารย์ (ปู สามีราโม)
ตำแหน่งทางคณะสงฆ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้
          มรณภาพเมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225  ที่อำเภอไทรบุรี มาเลเซีย
          สิริรวมอายุ 100 พรรษา 80

 

35. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 

ประวัติโดยย่อ

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ 

       

      พระอุบาลี สิริจันโท หรือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) แห่งวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร

      อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ และวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
มีนามเดิมว่าจันทร์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2399 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2400) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง 

 

       อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2420 ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู
       มรณภาพเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 สิริอายุ 75 ปี 121 วัน พรรษา 55

36. หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

       

          มรณภาพเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2469พระภาวนาโกศลเถระ หรือ หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร  เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร  เป็นชาวอำเภอบางขุนเทียน บ้านอยู่ที่ริมคลองบางหว้า

เกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 8 ค่ำ จุลศักราช 1149 ปีมะโรง จัตวาศก

ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2375 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
          บรรพชา พ.ศ. 2387  อุปสมบท พ.ศ. 2397

          มรณภาพเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ. 2469

37. สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ฯ

ประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ฯ

       

          สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช  (แพ ติสฺสเทโว)

วัดสุทัศน์เทพวราราม  กรุงเทพมหานคร สังกัดมหานิกาย
ประสูติเมื่อวันที่  22 พฤศจิกายน 2399 อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2419
สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487  พระชันษา 89 ปี พรรษา  68 

         

          (ไม่มีข้อมูลประวัติที่ออกเผยแพร่ ให้ค้นคว้า)

38. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

       

          หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่
เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง 
ตรงกับวันวิสาขบูชา  ณ บ้านข้าวเม่า ต.ข้าวเม่า อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘  ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อ กลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแก ขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อ ฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”
หลวงปู่ดู่ได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบด้วยโรคหัวใจในกุฏิท่าน 
เมื่อเวลาตี ๕ วันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓  อายุ ๘๕ ปี ๘ เดือน อายุพรรษา ๖๕

39. หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช

       

          หลวงปู่เทียม พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมชื่อ เทียม หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2447 ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ณ ตำบลบ้านป้อม หมู่ 7 อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เมื่ออายุครบอุปสมบท พระครูวินยานุวัติคุณ เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช เป็นพระอุปัชฌาย์ มีนามฉายาว่า “สิริปญฺโญ” ไปศึกษาปฏิบัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดประดู่ทรงธรรม และวิชาที่สำนักอื่นจนถึงพรรษาที่ 9 จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดกษัตราธิราช จนเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลงในช่วงปี พ.ศ. 2487 ในขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระใบฎิกา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสปกครองสงฆ์ และสร้างความเจริญแก่วัดจวบจนสิ้นอายุขัย เมื่อ วันที่ 20 เดือนธันวาคม 2522 อายุ 75 ปี 55 พรรษา

40. หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ 

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อสง่า วัดบ้านหม้อ 

       

          หลวงพ่อสง่า อนุปุพโพ นามเดิม สง่า เวสสุวรรณ  ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2459 ปีมะโรง  ที่หมู่บ้านคลองตาคต อ. โพธาราม จ.ราชบุรี
         
อุปสมบทที่วัดบ้านหม้อ เมื่อปี พ.ศ. 2481 อุปัชฌาย์กลิ่น วัดคงคา เป็นพระอุปัชฌาย์ 
หลวงพ่อแป๊ะ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พร้อมด้วยหลวงพ่อเกลี้ยง สมัยนั้นมีพระกรรมวาจาจารย์สองรูป หลวงพ่อเช็ง เป็นอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า " อนุปุพโพ " 
          ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวังอังคาร แรม 4 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก

          ตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2547 สิริอายุรวม 78 ปี พรรษาที่ 56

41. กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ 

ประวัติโดยย่อ

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

 

พระประสูติกาล

          พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์”

          ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น.

ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เป็นพระลูกยาเธอองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ( วร  บุญนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๕

สิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา

          พระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖

42. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน

ประวัติโดยย่อ

พระครูสังวรกิตติคุณ (หลวงพ่อเอีย)

 

          พระครูสังวรกิตติคุณ (หลวงพ่อเอีย)  เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๔๘ ปีมะโรง

ที่บ้านด่าน หมู่ ๕ ต.เกาะลอย อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

          อายุได้ 20 ปี อุปสมบท เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2468  พัทธสีมาวัดสัมพันธ์ ต.สัมพันธ์ อ.ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี หลวงพ่อเอีย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านด่านตั้งแต่ พ.ศ.2482

จนถึงวันมรณภาพ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2521 สิริอายุรวม 73 ปี พรรษา 53

43. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่เผือก ปัญญาธโร วัดกิ่งแก้ว

 

          "พระครูกรุณาวิหารี" หรือที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกกันติดปาก ว่า "หลวงปู่เผือก ปัญญาธโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดกิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ  หลวงปู่เผือก เกิดในสกุล ขุมสุขทอง ที่บ้านคลองสำโรง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 
          เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2412 ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง
เมื่ออายุครบ 21 ปี อุปสมบทตามที่วัดกิ่งแก้ว โดยมี หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา (วัดราชบัวขาว) เป็น พระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์อิ่ม อินทสโร วัดกิ่งแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา "ปัญญาธโร"
          มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2501 สิริอายุ 89 ปี พรรษา 69

44. หลวงพ่อทบ วัดชนแดน (วัดช้างเผือก)

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือ พระครูวิชิตพัชราจารย์ 

 

          หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ หรือ พระครูวิชิตพัชราจารย์ เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2424
ในสกุล ม่วงดี ที่บ้านยางหัวลม ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 
          พ.ศ.2445 เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดศิลาโมง ต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 
ได้รับฉายาว่า ธัมมปัญโญ หมายถึง ผู้มีความรู้ในพระธรรม  ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2497 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอชนแดน   และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร  ในราชทินนามที่ พระครูวิชิตพัชราจารย์

      หลวงพ่อทบ ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2519 ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 4 สิริอายุ 95 ปี

45. หลวงพ่อกวย ชุตินธโร 

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม

 

          หลวงพ่อกวย ชุตินธโร  อดีตเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท  หลวงพ่อกวย เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2448 ปีมะเส็ง
ณ หมู่บ้าน บ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
          อุปสมบท เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2467 ณ วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท 
โดยมี พระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เเละ พระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า "ชุตินธโร"
          มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 สิริอายุ 74 พรรษา 54

46. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก 

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก ธนบุรี

 

          หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก หรือ “ท่านพระครูวิสุทธิศิลาจารย์”  มีนามเดิมว่า

“พริ้ง เอี่ยมเทศ” เกิดเมื่อ พ.ศ. 2412 เป็นชาวบางปะกอก อำเภอราษฎร์บูรณะ  กรุงธนบุรี                       เริ่มเรียนหนังสือด้วยการบวชเป็นสามเณรที่ “วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ)” เมื่อพ.ศ.2413
กระทั่งปีพ.ศ.2433 อายุครบ 20 ปี  จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ “วัดทองนพคุณ” 
อ.คลองสาน แล้วจึงไปจำพรรษาที่ วัดบางปะกอก  จวบกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก 
จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2490  สิริอายุ 77  พรรษา 57

47. หลวงปู่ชู วัดนาคปรก 

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ชู ฉันทสโร วัดนาคปรก

 

          ประวัติ หลวงปู่ชู ฉันทสโร วัดนาคปรก กรุงเทพฯ 
ท่านเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๑ ปีมะเมีย  
ต่อมาได้โยกย้ายถิ่นฐานมา

ตั้งรกรากที่จังหวัด ธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๔๑๒ 
          ได้บรรพชาอุปสมบทครั้งแรก ณ พัทธสีมา วัดทองนพคุณ อันเป็นสำนักสอนกัมมัฏฐาน ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น  อุปสมบทครั้งที่สอง วัดนางชี เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ย้ายมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดนาคปรก จวบจนกระทั่ง  มรณภาพ เมื่อวันพุธ แรม ๕ ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๗๗  รวมสิริอายุได้ ๗๖ ปี

48. หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ประวัติโดยย่อ

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส 

 

          พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส  หรือ พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต

(มั่น ภูริทตฺโต) เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2413 
ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว
          อุปสมบทในธรรมยุติกนิกายเมื่ออายุ 23 ปี ในปี พ.ศ. 2436 
ณ วัดเลียบ อ.เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2436
          ละสังขารเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 รวมสิริอายุ 79 ปี 56 พรรษา

ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งต่อมาอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุ

49. หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชต วัดพระญาติการาม

 

          หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชต วัดพระญาติการาม  ตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2390 ปีมะแม ตรงกับปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา อุปสมบท พ.ศ. 2417
          มรณภาพ พ.ศ. 2477  อายุ 87  พรรษา 60

50. หลวงพ่อน้อย อินทสาโร วัดธรรมศาลา

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อน้อย อินทสาโร (พระครูภาวนากิตติคุณ) 

 

          อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม  ท่านเกิด เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2426

เวลา 04.00 น. ปีมะแม  ที่บ้านหนองอ้อ ต.ธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม
ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้  ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245 วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. 
          อายุครบ 20 ปี อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2446 
มีพระอธิการทอง วัดละมุด อ.นครชัยศรี เป็นพระอุปัชฌาย์  มีนามฉายาว่า "อินทสโร"
          มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันอังคารที่ 17 พ.ย.2513 เวลาประมาณ 18.34 น. 
สิริอายุได้ 83 ปี พรรษา 67  สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย

51. หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน 

 

          หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร   หรือที่รู้จักกันดีในหมู่ นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน  หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.     2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม
          อุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2422
          มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น.
          รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา

52. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ

 

          หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ  เกิดที่บ้านหนองโพ เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2403
          อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์  เมื่อวันอาทิตย์ แรม 13 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง โทศก  ตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2423  ได้รับนามฉายาว่า พุทฺธสโร มีความหมายว่า ผู้มีพระพุทธเจ้าเป็นศรชัยแห่งชัยชนะ
          มรณภาพเมื่อเวลา 17:45 น. สิริรวมอายุได้ 92 ปี พรรษา 71

53. สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) 

ประวัติโดยย่อ

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม

 

         สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ"สมเด็จวัดระฆัง"
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150

เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท )  ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง)

อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
         บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรด และเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จีงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ 
ให้เป็นนาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี"
      สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า- เจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4 สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี

54. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

 

         หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1246 ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
         เดือนกรกฎาคม 2449 ขณะมีอายุย่างเข้า 22 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีฉายาว่า “จนฺทสโร”
         มรณภาพเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เวลา 15.05 น.  สิริอายุได้ 74 ปี 3 เดือน

24 วัน นับอายุพรรษาได้ 53 พรรษา

55. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)

ประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ)

 

         สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่า เจริญ เกิดเมื่อวันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 หลัง ปีวอก
         ปีพ.ศ.2435 อายุได้ 20 ปี อุปสมบทที่วัดเขาบางทราย  โดยพระชลโธปมคุณมุนี

(พุฒ ปุณฺณโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า “ญาณวโร”
         มรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.00 น. สิริอายุ 80 ปี พรรษา 59

56. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

 

         หลวงพ่อจง พุทฺธสโร หรือ พระอธิการจง พุทฺธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา  นามเดิมว่า “จง” ท่านเกิดเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ.2415 ปีวอก
         อุปสมบทเมื่อ พ.ศ.2436 ที่วัดหน้าต่างใน  ได้รับฉายาว่า “พุทฺธสโร” ภายหลังได้ย้ายมา จำพรรษาที่วัดหน้าต่างนอก จนได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก
         มรณภาพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 รวมสิริอายุได้ 92 ปี  พรรษา 71

57. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค

 

         หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์ ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พศ. 2426 ณ.ตำบลบ้านแพรก อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
         อุปสมบทที่วัดเขียนลาย ต.บ้านแพรก อ.บ้านแพรก จ.อยุธยา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า "ถาวโร" โดยมีหลวงพ่อถม วัดเขียนลาย เป็นพระอุปัชฌาย์
         มรณภาพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ.โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี สิริรวมอายุได้ 91 ปี 71 พรรษา

58. หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 

 

         หลวงพ่อแฉ่ง ศิลปัญญา วัดศรีรัตนาราม (บางพัง) อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
หลวงพ่อแฉ่ง เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธ.ค. 2428 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือนอ้าย ปีระกา
         บรรพชาเมื่ออายุ 12 ปี และเข้าพิธีอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ประมาณปีพ.ศ.2448
         มรณภาพ วันที่ 26 ก.ค. 2500 รวมสิริอายุ 72 ปี 52 พรรษา 
         สังขารของท่าน สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฎกษัตริยาราม โปรดให้เคลื่อนไป พระราชทานเพลิงอย่างสมเกียรติ เมื่อ 11 พ.ค. 2501 ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ    

59. หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ  จ.สมุทรสงคราม 

 

         หลวงปู่ใจ อินทสุวัณโณ วัดเสด็จ  สมุทรสงคราม เกิดวันอาทิตย์ ขึ้น  2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ 
ตรงกับวันที่  23 พฤศจิกายน  2404
         อุปสมบท อายุ  21 ปี ณ วัดบางเกาะเทพศักดิ์
         มรณภาพ ปีพ.ศ.2505  รวมสิริอายุ 101 ปี 80 พรรษา

   

60. พ่อท่านนวล (วัดไสหร้า)

ประวัติโดยย่อ

พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดประดิษฐาราม (วัดไสหร้า)

 

         พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดประดิษฐาราม (วัดไสหร้า)  “พระครูวิสุทธิบุญดิตถ์” หรือ “หลวงพ่อนวล ปริสุทโธ”  หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า “พ่อท่านนวล” มีนามเดิมว่า นวล เจริญรูป เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2465 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 5 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ 
ณ บ้านไสหร้า หมู่ 4 ต.ทุ่งสัง (หมู่ 1 ต.บางรูป ในปัจจุบัน) อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช
         อุปสมบทเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2485 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 
ณ พัทธสีมาวัดภูเขาหลัก (วัดหลวงพ่อแดง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในสมัยก่อน) ต.ทุ่งสัง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช  โดยมีพระครูถาวรบุญรัตน์ วัดท่ายาง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นพระอุปัชฌาย์
         มรณภาพ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555  รวมสิริอายุได้ 89 พรรษา 69

61. หลวงพ่อโชติ วัดตะโน

ประวัติโดยย่อ

หลวงพ่อโชติ วัดตะโน

         หลวงพ่อโชติ  รุฬหผโล แห่งวัดตะโน ตำบลบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
ท่านเกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ.2417 ปีจอ 
         อุปสมบท ณ วัดกระทุ่ม วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2451 
         มรณภาพ วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2501  รวมสิริอายุ 83 ปี พรรษา 50

62. สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ประวัติโดยย่อ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส  

         สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส  เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช) และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับ สถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรก ที่ประสูติในสมัยรัตนโกสินทร์อีกด้วย ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร 
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 28  ในพระบาทสมเด็จ- พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 
         ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2333 ปีจอ  มีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวาสุกรี 
         ผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุได้ 12 พรรษา  เมื่อปี พ.ศ. 2345 ผนวชเป็นพระภิกษุ แล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถึงปี

พ.ศ. 2396 รวม 2 พรรษา 
         สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 64 พรรษา  สวรรคต 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396

63. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 

         พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดธนบุรีในอดีต หลวงปู่โต๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2430 
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
         บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีพระอธิการสุขเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ 
นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัด  จึงได้อุปการะท่าน  
         จนเมื่อมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโต๊ะ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 
ณ พัทธสีมา วัดประดู่ฉิมพลี 

         ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี  เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 จนกระทั่ง                มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 รวมระยะเวลานานถึง 68 ปี
         รวมสิริอายุ 93 ปี 344 วัน พรรษา 73

64. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร 

         หลวงปู่ฝั้น หรือ พระอาจารย์ฟั่น อาจาโร  เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
         ปีพ.ศ. 2462 อายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ วัดสิทธิบังคม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระครูป้อง เป็นอุปัชฌาย์
         มรณภาพเมื่อ วันที่ 4 ม.ค. 2520 ณ วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ ของท่าน  สิริรวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา 
         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงสรงน้ำศพ พระราชทานหีบทองประกอบศพ จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพ เป็นการส่วนพระองค์

65. หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค

ประวัติโดยย่อ

พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) วัดบางนมโค

         พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) หรือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโคระหว่างปี พ.ศ. 2478 จนถึงปี พ.ศ. 2481 ท่านเกิดเมื่อ

วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2418 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ณ บ้านตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
         ปี พ.ศ. 2439 ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค 
โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์  ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า “โสนันโท”
         ได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 
ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 
         รวมสิริอายุได้ 63 ปี พรรษา 42

66. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง

         หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 
ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน  ณ บ้านนาโป่ง ต.หนองใน(ปัจจุบันเป็น ต.นาโป่ง)

อ.เมือง จ.เลย 
         บรรพชา พ.ศ. 2439 อุปสมบท พ.ศ. 2450
         ได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
         รวมสิริอายุ 98 ปี พรรษา 78 

67. หลวงปู่หิน วัดระฆัง

ประวัติโดยย่อ

พระครูสังฆรักษ์ (หิน อินทวินโย)

         พระครูสังฆรักษ์ (หิน อินทวินโย) เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่รูปหนึ่งของวัดระฆังโฆสิตาราม 
หลวงปู่ หิน นามสกุลเดิม สุขเกษม เกิดเมื่อ 9 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2442 
ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีกุน เวลา ประมาณ 18.30 น. 
ที่จังหวัด ปริวแวง ประเทศ กัมพูชา 
         บวชเป็น สามเณร 15ปี ภายหลังได้ลาสิกขาบท 
         อุปสมบทใหม่อีกครั้ง อายุ 21 ปี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ.2463  

ณ พัทธสีมา วัดธนาคัน ตำบลจาง อำเภอ ตะแบก จังหวัด ปริวแวง ประเทศกัมพูชา 
โดยมีพระรัตนาวงศาเป็นพระอุปัชฌาย์  ใน พ.ศ.2478 ท่านได้ทราบถึง กิติศัพท์ 
ของท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เกิดมีความศรัทธาอย่างแรงกล้า 
จึงตัดสินใจเดินทางมายัง วัดระฆังโฆสิตาราม และเข้ากราบนมัสการ  พระเทพสิทธินายก หรือ หลวงปู่นาค ขณะนั้น หลวงปู่นาค ดำรงตำแหน่ง พระราชโมฬี เจ้าอาวาส แห่งวัดระฆัง 
         มรณภาพ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม2521 รวมสิริอายุ 79 ปี พรรษา 58

68. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก

ประวัติโดยย่อ

พระราชวิสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อเกตุ จิตฺตสาโร 

         พระราชวิสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อเกตุ จิตฺตสาโร  วัดเกาะหลัก ตำบลประจวบ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พระวิสุทธาจารคุณ เดิมชื่อ เกตุ วงษ์แหวน 
         เกิดวันอังคาร แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน  ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2466
         อุปสมบทเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2486  ณ วัดวังยาว ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
         ท่านได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ด้วยโรคไตวาย  เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ณ โรงพยาบาลราชวิถี  สิริรวมอายุได้ ๗๖ ปี ๑ เดือน ๒๑ วัน ๕๗ พรรษา
         เป็นเถราจารย์อีกรูปหนึ่งที่ร่างกายไม่เน่าเปื่อยหลังจากมรณภาพแล้ว

69. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ

ประวัติโดยย่อ

พระอุดมประชานาถ หรือ หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ 

         หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ วัดบางพระ จ.นครปฐม "พระอุดมประชานาถ"  

นามเดิม เปิ่น นามสกุล ภู่ระหงษ์  เกิดวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2466 เดือน 9 ปีกุน 
ณ บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 4 ตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
         อุปสมบทวันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2491 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน  ณ พัทธสีมา วัดบางพระตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม  เจ้าอธิการหิ่ม อินฺทโชโต เป็นพระอุปัชฌาย์
         หลวงพ่อได้ละสังขารวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เวลา 10.55 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยรวมสิริอายุ 79 ปี พรรษา 54

70. หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย

ประวัติโดยย่อ

พระครูเกษมคณาภิบาล หรือ หลวงพ่อมี เขมธมฺโม 

        พระครูเกษมคณาภิบาล หรือ หลวงพ่อมี เขมธมฺโม  เดิมท่านมีชื่อว่า บุญมี  นามสกุล ธนสนธิ์ 
เกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2454  ตรงกับวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน 
        อุปสมบทที่วัดมารวิชัย เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2475 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8  
โดยมีพระครูอดุลวุฒิกร(หลวงพ่อพิณ จันทโชโต) วัดช่างเหล็ก เป็นพระอุปัชฌาย์  ปี พ.ศ.2481 เป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย
        มรณภาพเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2543

71. ครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี)

ประวัติโดยย่อ

ครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี) วัดพระพุทธบาทผาหนาม 

        ครูบาเจ้าอภิชัย (ขาวปี)  วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้ จ.ลำพูน  เดิมชื่อ "จำปี" เป็นบุตรของพ่อเม่า และแม่จันตา  เกิดเมื่อ วันจันทร์* เดือน 7 เหนือ ปีกัดเป้า (ปีฉลู) 
ตรงกับวันที่ 17 เดือนเมษายน พ.ศ.2431 เป็นวันมหาสงกรานต์ คำเมืองเรียกว่า วันปากปี
        เมื่ออายุได้ 16 ปี มารดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดบ้านปาง
อายุ 22 ปี (พ.ศ. 2453) เป็นสามเณรได้ 6 ปี ท่านครูบาศรีวิชัยจึงอุปสมบทให้
        อุปสมบท 3 ครั้ง – ครองผ้าขาว 3 ครั้ง
        มรณภาพ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2520 
        ตรงกับเดือน 6 เหนือ แรม 14 ค่ำ เวลา 16.00 น. โดยอาการสงบ

72. หลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์ เมืองลพบุรี

ประวัติโดยย่อ

หลวงปู่แสง (ขรัวตาแสง)  

        หลวงปู่แสง (ขรัวตาแสง) หรือพระครูมหิทธิเมธาจารย์  วัดมณีชลขัณฑ์

(เดิมชื่อว่า " วัดเกาะแก้ว ") ตำบลพรหมมาสตร์  อำเภอเมือง  จังหวัดลพบุรี  
(ขรัวตาแสง เป็นศิษย์สายกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ และเป็นอาจารย์คนสำคัญ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี หรือ ขรัวโต )
        ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์สองร้อยกว่าปีล่วงมาแล้ว จะหาพระภิกษุรูปใดที่จะเป็นที่รู้จัก
ของมหาชนยิ่งไปกว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม 
พระมหาเถราจารย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นไม่มี แต่จะหาผู้ที่รู้จักพระมหาเถรเจ้า  อันเป็นที่เคารพนับถือ และเป็นบูรพาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) อันมีนามว่าหลวงปู่แสง แห่งวัดมณีชลขัณฑ์ เมืองลพบุรี น้อยเต็มที่  และมีอีกเป็นจำนวนไม่น้อยที่แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อ ของหลวงปู่แสงเลย ทั้งที่หลวงปู่แสง ขรัวตาแสง หรือพระครูมหิทธิเมธาจารย์นี้ เป็นคณาจารย์ที่มีชื่อ เสียงเป็นอันมาก ในยุคที่ท่านทรงสังขารอยู่         พระเกจิอาจารย์หลายรูปที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบันนี้ที่ได้เคยมานมัสการขอมอบตัวเป็นศิษย์  ศึกษาเล่าเรียนวิชาการต่างๆ จากหลวงปู่แสงมีจำนวนมาก เป็นที่เลื่องลือขจรไปในหมู่ผู้แสวงหาความรู้ ทางวิชาการทั้งสมถะและวิปัสสนา คาถาอาคม ฯลฯ  เป็นที่รู้จักไปจนถึงในรั้วในวัง        เป็นที่น่าเสียดายเหลือเกินที่ประวัติขององค์หลวงปู่แสงหาได้ยากยิ่ง  ทั้งที่มา และที่ไปของหลวงปู่ ล้วนเป็นปริศนาจวบจนปัจจุบัน.....

อนุโมทนา ฯ ผู้สนับสนุนเว็บไซต์
Sarot2555
ค้นหาบทความ
bottom of page