top of page
บำรุงสมองกับแปะก๊วย

แปะก๊วย (Ginkgo Biloba)

เป็นอาหารช่วยในเรื่องความจำให้กับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ให้ดีขึ้น ชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อม  ช่วยเรื่องลดอาการเหน็บชาตามกล้ามเนื้อ  กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต  บำบัดอาการวิงเวียนศรีษะ  หูอื้อ  สามารถช่วยแก้การไอ  ช่วยลดเสมหะ  แก้อาการหอบหืด  สามารถลดปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค  หลอดลมอักเสบ  และเป็นยาบำรุงปอดอีกด้วย......

อย่างไรก็ดีการรับประทานเมล็ดแปะก๊วยนั้น  ก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะพอดี  จะได้รับคุณประโยชน์  แต่ถ้ารับประทานมากเกินไป  ก็อาจเป็นโทษส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน...

เมล็ดแปะก๊วย 

ใบแปะก๊วย 

สรรพคุณสมุนไพรแปะก๊วย  

 
ชื่อสมุนไพร :  แปะก๊วย
ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) :  Ginkgo Biloba
ชื่ออื่น : แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช, ต้นไม้อิสรภาพ, หยาเจียว (จีน), อิโจว (ญี่ปุ่น)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Ginkgo flavoneglycosides
ส่วนที่ใช้ :  ใบ ผล
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  เป็นไม้ผลัดใบยืนต้น สูง 10-25 เมตร ทุกส่วนไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขาห่างๆ เปลือกสีเทา ต้นแก่เปลือกสีนํ้าตาลอมเหลือง


     ใบแปะก๊วย จะะออกมาจากปลายกิ่งสั้น กิ่งละ 3-5 ใบ มีรูปร่างคล้ายพัดจีน กว้าง 5-8 ซม. ยาวประมาณ 8 ซม. ปลายใบเว้าตรงกลาง มีรอยเว้าตื้น ๆ หลายแห่ง หรือเป็นคลื่น โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบเรียงถี่ ๆ เป็นรูปพัด ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ก่อนผลัดใบ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบเรียวยาว


     ดอกแปะก๊วย เป็นดอกแยกเพศ และอยู่ต่างต้นกัน ออกที่ปลายกิ่งสั้น บริเวณเดียวกับที่เกิดใบ ดอกเพศผู้ แต่ละกิ่งจะออกประมาณ 4-6 ช่อ ลักษณะช่อเป็นแทงห้อยลง มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูติดที่ปลายก้านเกสร มี 2 ลอน ดอกเพศเมีย ออกกิ่งละ 2-3 ดอก ดอกมีก้านยาว ที่ปลายก้านมีไข่ 2 เมล็ด ไข่ไม่มีรังไข่หุ้ม แต่มักจะเจริญเติบโตเพียงเมล็ดเดียวผลค่อนข้างกลม หรือรี มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 ซม. เป็นผลชนิดมีเนื้อนุ่ม แต่เมล็ดแข็ง เมื่อสุกสีเหลือง ผิวมีนวล กลิ่นค่อนข้างเหม็น


     เมล็ดแปะก๊วย เป็นรูปวงรี หรือ รูปไข่ เปลือกแข็ง สี ออกเหลืองนวล เนื้อภายในเมล็ดเมื่อทำให้สุกใช้เป็นอาหารได้ทั้งคาว และหวาน เรียกว่า “แปะก๊วย”

 

สรรพคุณใบแปะก๊วย

     

     สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน"     

     แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรจากธรรมชาติ มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้อย่างน่าอัศจรรย์ ชาวจีนเชื่อว่าแปะก๊วยเป็นยาอายุวัฒนะ

ซึ่งแปะก๊วยที่พบเห็นในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะอบแห้ง มีเปลือกหุ้ม ก่อนจะนำมาประกอบอาหารต้องแกะเปลือกออก ซึ่งเนื้อในแปะก๊วย จะมีสีเหลือง มีเยื่อเปลือกห่อหุ้มอีกทีเป็นสีส้มน้ำตาล แต่จริงๆ แล้ว สารที่ดีต่อสุขภาพในแปะก๊วยนั้น ส่วนใหญ่จะพบในใบมากกว่าผลเสียอีก

    ใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) เป็นสมุนไพรที่มีมาแต่โบราณ เพราะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถูกนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1436 ในสมัยราชวงศ์หมิง ประเทศจีน ปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งในเอเชีย ยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา เพราะเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ แปะก๊วยเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีใบเดี่ยวลักษณะคล้ายพัดซึ่งเป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางยา สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยมีสารสำคัญ คือ จิงโกไลด์ (Ginkgolide) และบิโลบาไลด์ (Bilobalide)

     

ใบแปะก๊วย เมื่อนำมาสกัดจะได้สารสำคัญ 3 กลุ่ม คือ 


     1. กลุ่มฟลาโวน (Flavonoids) มีฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งสารอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของสารก่อมะเร็ง ช่วยป้อง กันโรคมะเร็ง ช่วยชะลอโรคที่เกิดจากความชรา 
     2. กลุ่มบิโลบาไลด์ (Bilobalides) ซึ่งช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม  ป้องกันโรคสมองฝ่อ เป็นตัวเสริมสร้างให้มีการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองได้ดี และป้องกันการเกิดบาดแผลเรื้อรังในกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน และยังป้องกันเบาหวานขึ้นตาอีกด้วย 
     3. กลุ่มจิงโกไลด์ (Ginkgolides) ซึ่งจะออกฤทธิ์คล้ายกลุ่มที่ 2 ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม โดยเป็นตัวช่วยเสริมสร้างการส่งสัญญาณในระบบสมอง เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง สมองย่อมเสื่อมสมรรถภาพ และฝ่อไปในที่สุด ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุหรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังในคนที่เป็นโรคเบาหวาน และออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในบริเวณตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้

     ปัจจุบันมีการนำใบแปะก๊วยมาสกัดเป็นอาหารเสริมจำนวนมาก เพื่อช่วยบำรุงสมองช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และยังใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้าอาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอในผู้ป่วยสูงอายุ หลายประเทศให้การยอมรับสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อมทั้งยังมีการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่นๆ เพื่อช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กทำงานดีขึ้น ทำให้ร่างกายนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยไปใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น

สรรพคุณผลแปะก๊วย

      ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนประกอบด้วยไขมัน แป้ง โปรตีน และน้ำตาล มีรสหวานอมขม อมฝาด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก ช่วยบำรุงปอด แก้ไอ แก้หอบ ขับเสมหะ ลดปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค บำบัดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ หลอดลมอักเสบ ตกขาว หนองใน แปะก๊วยสด ช่วยลดเสมหะ แก้พิษ ฆ่าพยาธิ ถ้านำมาโขลกทาบนใบหน้าและมือ ช่วยขจัดรอยเหี่ยวย่น รักษาอาการหืดได้อีกด้วย

 

       1. สารสกัดจากใบแปะก๊วยช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
       2. สารสกัดจากใบแปะก๊วย ยังช่วยป้องกัน และรักษาโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมได้ 
       3. สารสกัดจากใบแปะก๊วย เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
       4. ช่วยชะลอความแก่ชรา และป้องกันโรคมะเร็งได้
       5. ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตได้ดีอีกด้วย ทำให้มีก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง หัวใจ และอวัยวะต่างๆ ตามร่างกาย
       6. ใบแปะก๊วยช่วยในเรื่องของการเพิ่มสมาธิ และช่วยเพิ่มความจำ ความคิดได้ดี
       7. ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดที่สมอง และแขน ขา จึงช่วยลดอาการชาปลายมือ ปลายเท้า ลดการวิงเวียน หูอื้อ อันเนื่อง             มาจากปัญหาไหลเวียนของเลือด 
       8. แปะก๊วยช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ลดการอุดตันของหลอดเลือด 
       9. สามารถช่วยป้องกันโรคเบาหวานขึ้นตาได้ 
     10. ช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีพัฒนาการรับรู้ และเข้าสังคมได้ดีขึ้นด้วย
     11. ช่วยต้านโรคซึมเศร้าอย่างได้ผลสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป
     12. ใบแปะก๊วย จะช่วยป้องกันการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมได้
     13. ใบแปะก๊วยช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืดได้
     14. แปะก๊วยช่วยลดอาการตะคริวหรือการเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ 
     15. ใบแปะก๊วยช่วยบรรเทาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ดี หรือจะเรียกว่าเป็นไวอะกร้าชั้นดีจากธรรมชาติเลยก็ว่าได้
     16. ใบแปะก๊วยช่วยลดอาการซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ ได้
     17. ใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังประสาทมือ และเท้า ลดอาการปวดต่างๆ ได้
     18. ใบแปะก๊วยช่วยป้องกันอาการผิดปกติของการหายใจขณะขึ้นที่สูง
     19. ใบแปะก๊วยช่วยลดอาการหูอื้อได้ด้วย
     20. ใบแปะก๊วยช่วยป้องกันการเกิดแผลเรื้อรังในผู้ป่วยใบหวานได้
     21. ผลแปะก๊วยใช้ประกอบอาหาร
     22. ผลแปะก๊วยช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก
     23. ผลแปะก๊วยยบำรุงปอด แก้ไอ แก้หอบ ขับเสมหะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ

     24. ช่วยฆ่าเชื้อโรค บำบัดอาการวิงเวียนศรีษะ 
     25. ผลแปะก๊วยช่วยแก้อาการตกขาว หนองใน 
     26. แปะก๊วยช่วยขับของเสีย ระบายปัสสาวะขับชื้น 
     27. แปะก๊วยช่วยรักษามือเท้าแตก ด้วยการใช้แปะก๊วยดิบ ปอกเปลือกที่แข็งๆ ออกตำให้ละเอียด ทาบริเวณที่แตกทุกคืน
     28. แปะก๊วยช่วยรักษาแมงกินฟัน ด้วยการใช้แปะก๊วยดิบเคี้ยวหลังอาหาร 2 เม็ด แต่ห้ามกลืน เพราะแปะก๊วย แม้จะมีสรรพคุณที่ดี               แต่ก็มีพิษมาก
     29. ช่วยแก้อาการเมาเหล้า

 ผลการศึกษาวิจัย

     มีการวิจัยทางคลินิก พบว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วย นอกจากจะมีไบโอฟลาโวนอยด์แล้ว ยังจะมีสารไบโลบาไลด์ (Bilobalides) และกิงโกไลด์ (Ginkgolides) ซึ่งเชื่อกันว่า มีผลต่อความจำ และบำบัดอาการสมองเสื่อม เพราะสารทั้งสองตัวนี้ จะไปเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตที่สมอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น จึงช่วยเรื่องความจำได้ดี โดยเฉพาะในผู้สูงอายุอาจจะสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อม (โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer disease) สมองฝ่อ อาการขี้หลงขี้ลืม วิงเวียนหน้ามืด โรคซึมเศร้าได้ด้วย

      มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการบกพร่องเรื้อรังของสมองส่วนซีรีบรัม และหลอดเลือดพบว่า ใบแปะก๊วยช่วยให้มีการพัฒนาการทางความจำ ความคิด นอนหลับได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นในสหรัฐอเมริกาใบแปะก๊วยก็ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อเป็นยารักษาอาการดังกล่าวโดยมีการทดลองในปี 1994 ทดลองให้ใบแปะก๊วยกับกลุ่มผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่าผู้ป่วยมีความจำ และสมาธิได้ดีขึ้น

 

     สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตก็พบว่ามีความจำและสมาธิดีขึ้นเช่นกันเมื่อรับประทานใบแปะก๊วยเข้าไป นอกจากนี้ผู้ที่มีปัญหากาเกี่ยวกับดวงตา ใบแปะก๊วยก็ยังช่วยให้มีความเร็วในการตอบสนองทางดวงตามากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปรกติของเส้นเลือดดำนั้น มีการทดลองขึ้นในปี 1998 โดยให้ผู้มีอาการปวดหลังจากการเดิน รับประทานแล้วพบว่าใบแปะก๊วยมีส่วนช่วยลดอาการปวดได้จริง ทั้งยังทำให้เดินได้มรระยะทางไกลขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงยังมีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อเข้าไปเลี้ยงแขนขาได้ดีขึ้นอย่างมาก

     ในปี 1996 ได้มีการทดลองพบว่าใบแปะก๊วยมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันผู้ที่มีอาการ AMS (Asthma & Acute Mountain Sickness) หรือภาวการณ์ผิดปรกติของการหายใจขณะขึ้นสู่ที่สูงได้ ส่วนคนในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาหูอื้ออยู่เป็นประจำ การรับประทานอาหารใบแปะก๊วยยังช่วยลดภาวะหูอื้อลงได้อีกด้วย


 ข้อควรระวัง

     1. ผู้ที่ใช้สารป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (Anti-coaggulant) เช่น ยา Warfarin , แอสไพริน , อิบูโพรเฟน และผู้ที่มีปัญหาการแข็งตัวของเลือด ไม่ควรรับประทานใบแปะก๊วย
     2. ผู้ป่วยที่ความดันสูง หรือความดันต่ำกว่าปกติ หรือใช้ยาอยู่ ไม่ควรทานใบแปะก๊วย
     3. สตรีมีครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
     4. ไม่ควรทานเม็ดแปะก๊วยสดเกิด 10 กรัม (5-6 เม็ด)

 

 

 

 

CREDIT ขอขอบคุณ

ที่มา : http://bookmuey.com

ค้นหาบทความ
bottom of page